Quantcast
Channel: สนธิ ลิ้มทองกุล
Viewing all 58 articles
Browse latest View live

สุธีชี้แจงภัณฑารักษ์ว่าไม่สนับสนุนรัฐบาลทหาร แต่ต่อสู้กับความฉ้อฉลในสภา

0
0

ศิลปินผู้นำผลงานสมัยชุมนุม กปปส. ไปแสดงที่หอศิลป์เมืองกวางจู ชี้แจงต่อภัณฑารักษ์ว่า เขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น ยกผลงานตนเทียบเท่าผู้คนร่วมลุกฮือที่กวางจูปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกฝักใฝ่ยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน

สุธี คุณาวิชยานนท์ ถ่ายภาพคู่กับศิลปินชาวเวียดนาม เลอดุกไฮ (ซ้าย) และ เลองอกทัน (ขวา) ข้างหลังคือผลงานแสดงของสุธี ชุด  'Thai Uprising'ผลงานศิลปะของเขาในการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556 - 2557 (ที่มา: facebookpage/Hai Duc Le)

 

18 พ.ค. 2559 กรณีที่สุธี คุณาวิชยานนท์ นำผลงานศิลปะไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการซึ่งมีผลงานของศิลปิน 5 ประเทศ มีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีเป็นศิลปะในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ซึ่งต่อต้านการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ และปูทางไปสู่การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมามีบุคคลหลายวงการในประเทศไทยการทำจดหมายทักท้วงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีใต้ เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขานั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 พ.ค. สุธี ได้เขียนจดหมายชี้แจงไปถึงลิม จงยอง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าวชี้แจงว่าเขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น กิจกรรมและความเชื่อของเขามีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือจลาจลกวางจู เมื่อปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน โดยจดหมายของสุธีถึงภัณฑารักษ์ ฉบับแปลภาษาไทยอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้

000

จดหมายถึงภัณฑารักษ์
เรียน ลิม จง ยอง (Jong-young Lim)

ผมขอขอบคุณในความกรุณาที่สนับสนุนผลงานของผม และผมอยากที่จะพูดว่าผมรู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในนิทรรศการ The Truth_To Turn It Over อันมีเกียรตินี้ ณ Gwangju Museum of Art

ผมอยากจะขอบคุณในความใจกว้างของคุณที่เปิดโอกาสให้ผมได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาที่มีต่อตัวผม กล่าวโดยสรุป ผมถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนรัฐบาลทหารในปัจจุบัน และที่เลวร้ายไปกว่านั้น คือการสนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองอันนำมาซึ่งการรัฐประหารโดยทหาร

ผมขอปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งสอง และต้องการที่จะเน้นย้ำว่ากิจกรรมทางการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมาของผม ไม่ได้ทำไปเพื่อเชิดชูทหาร หากแต่มันเป็นการตอบโต้กับความฉ้อฉลของเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผมและคนไทยอีกหลายล้านคนได้ใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน เพื่อต่อต้านการใช้อำนาจอันบิดเบือนอย่างน่ารังเกียจโดยรัฐบาลของเธอ

ในระหว่างการประท้วง รัฐบาลของเธอหน้ามืดตามัวใช้ความรุนแรงเพื่อตอบโต้กลุ่มผู้ประท้วงด้วยม็อบประชาชนที่จัดตั้งโดยรัฐบาลเอง มีบันทึกว่าผู้คนเสียชีวิตไปกว่า 20 ราย ความดื้อรั้นและขาดซึ่งสำนึกความรับผิดชอบต่อประชาธิปไตยของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นำมาซึ่งทางตันและสูญญากาศทางการเมือง ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการรัฐประหาร

การใช้อำนาจอันบิดเบือน นำไปสู่การประท้วงโดยมวลชนในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2556 รวมไปถึงความพยายามในการใช้ เสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาผลักดันให้เกิดการใช้กฏหมายนิรโทษกรรมในกรณีความผิดเรื่องคอร์รัปชันของทักษิณ ชินวัตร  (พี่ชายของยิ่งลักษณ์ ผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี) นอกจากนี้ ศาลอาญาได้ตัดสินลงโทษทักษิณด้วยการสั่งจำคุก 2 ปี และยังมีอีกหลายข้อกล่าวหาที่ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ทักษิณไม่เคยสำนึกตนว่ากระทำผิดและอยู่ในระหว่างการหลบหนีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ยิ่งไปกว่านั้น ยุคสมัยของยิ่งลักษณ์ มีการคอร์รัปชันเกิดขึ้นมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ มีการประเมินอย่างเป็นทางการว่า การคอร์รัปชันนี้สร้างความสูญเสียมูลค่ากว่าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จากโครงการจำนำข้าวเพียงโครงการเดียว ทั้งตัวยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในระดับต่างๆ กำลังถูกฟ้องในอาชญากรรมนี้ในศาลพลเรือน

การกระทำเช่นนี้ชัดเจนว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ก่อให้เกิดความรู้สึกในวงกว้างว่า ผู้คนนับล้านถูกทรยศ รวมถึงตัวผมเองด้วย ผมมีความภาคภูมิใจในการทำหน้าที่ทางประชาธิปไตยในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ในการประท้วงตอบโต้กับการทรยศต่อเสียงโหวตที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้รับจากประชาชน ยิ่งไปกว่านั้น ผมมีความเชื่ออย่างจริงใจว่า กิจกรรมและความเชื่อของผมมีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือขึ้นก่อจลาจลในเมืองกวางจู เมื่อปี 1980

ในความเป็นจริงแล้ว เผด็จการนั้นมาในหลายรูปแบบ ทั้งทหารและพลเรือน รัฐบาลทหารในปัจจุบันก็จะเผชิญหน้ากับการตอบโต้แบบเดียวกันจากตัวผมและคนอื่นๆ ถ้าทหารเหล่านั้นไม่ให้ความสนใจประชาชนเป็นอันดับแรก หรือถ้าหากทหารไม่คืนประชาธิปไตยให้กับประเทศนี้อย่างที่พวกเขาได้สัญญาเอาไว้

ผมควรที่จะเน้นไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่า การเคลื่อนไหวเพื่อที่จะใส่ร้ายป้ายสีชื่อเสียงของผมได้รับการสนับสนุนจากพวกที่ฝักใฝ่ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มันคือเกมทางการเมือง ซึ่งผมไม่ปรารถนาที่จะไปยุ่งเกี่ยวด้วย และผมหวังอย่างจริงใจว่า คุณจะไม่ตกเป็นเหยื่อในลูกไม้ของคนพวกนี้

ผมหวังว่าผมจะมีโอกาสเข้าร่วมในนิทรรศการของคุณ และเชื่อว่าคุณจะมีความยับยั้งชั่งใจต่อข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมต่อตัวผม ซึ่งชัดเจนว่าถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการสร้างสถานการณ์ในรัฐทหารในปัจจุบัน

ด้วยความเคารพ
สุธี คุณาวิชยานนท์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วสันต์-มานิตย์หนุนงานศิลปะสุธี-เหมาะสมสะท้อนภาพต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นอย่างดี

0
0

มานิต ศรีวานิชภูมิ และวสันต์ สิทธิเขตต์ ทำหนังสือถึงภัณฑารักษ์ที่กวางจู เพื่อสนับสนุนการแสดงงาน 'สุธี คุณาวิชยานนท์'ว่าเหมาะสม-สะท้อนภาพการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนไทยโดยศิลปินไทย พร้อมเรียกร้องภัณฑารักษ์ให้มีสติและอดทนต่อการ "ใส่ร้ายป้ายสี""ทำลายเกียรติยศและชื่อเสียง"ของสุธี "ผู้ต่อต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด"

 

ผลงานของสุธี คุณาวิชยานนท์ ชุด "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน"ที่นำผลงานไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูด้วย (ที่มา: Rama9Art)

18 พ.ค. 2559 กรณีที่สุธี คุณาวิชยานนท์ นำผลงานศิลปะไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการซึ่งมีผลงานของศิลปิน 5 ประเทศ มีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีที่นำไปแสดงคือ 'Thai Uprising'เป็นศิลปะในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ซึ่งต่อต้านการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ และปูทางไปสู่การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมามีบุคคลหลายวงการในประเทศไทยการทำจดหมายทักท้วงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีใต้ เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขานั้น (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)

ล่าสุดวันนี้ (18 พ.ค.) มานิต ศรีวานิชภูมิ และวสันต์ สิทธิเขตต์ ซึ่งเคยแสดงผลงานศิลปะที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ได้ทำจดหมายเปิดผนึก [ฉบับภาษาอังกฤษ] [ฉบับแปลภาษาไทย] ถึง ลิม จงยอง ภัณฑารักษ์ผู้ดูแลนิทรรศการศิลปะ ‘The Truth – to Turn It Over’ เพื่อสนับสนุนการแสดงผลงานของสุธี คุณาวิชยานนท์

อนึ่งเมื่อวันที่ 18 พ.ค. สุธี ได้เขียนจดหมายชี้แจงไปถึง ลิม จงยอง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าวชี้แจงว่าเขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น กิจกรรมและความเชื่อของเขามีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือจลาจลกวางจู เมื่อปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

สำหรับจดหมายเปิดผนึกของมานิตย์ ศรีวานิชภูมิ และวสันต์ สิทธิเขตต์ มีรายละเอียดดังนี้

000

เรียน Mr. Lim Jong-young,

ตามที่ปรากฏข่าวบนโซเชียลมีเดีย และหนังสือพิมพ์ไทยบางฉบับว่า ท่านได้รับจดหมายจากคนไทยกลุ่มหนึ่ง ประท้วงการจัดแสดงผลงานศิลปะ ‘The Truth – to Turn It Over’ ของ อาจารย์สุธี คุณาวิชยานนท์ โดยกล่าวหาว่า “ต่อต้านประชาธิปไตย” (Anti democracy) เพราะผลงานและตัวศิลปินผู้มีส่วนร่วมในการประท้วงใหญ่ “ปิดกรุงเทพ” จนนำไปสู่การรัฐประหาร ซึ่งขณะนี้ท่านกำลังพิจารณาเรื่องนี้ว่าจะดำเนินการอย่างไรนั้น

ข้าพเจ้า, ศิลปินไทยผู้รักประชาธิปไตยเช่นกัน ขอส่งสาส์นฉบับนี้มาสนับสนุนการคัดเลือกและแสดงผลงานชุดนี้ที่ท่านเป็นผู้คัดเลือกว่า เหมาะสมและสะท้อนภาพการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนไทยโดยศิลปินไทยได้เป็นอย่างดี

การกล่าวหาผลงานชุดนี้ว่า “ต่อต้านประชาธิปไตย” เพียงเพราะศิลปินเป็นพันธมิตรเข้าร่วมประท้วงกับกลุ่ม กปปส. จนเป็นเหตุอันนำไปสู่การรัฐประหารนั้น นับเป็นข้อกล่าวหาอันตื้นเขิน ไร้เหตุผล ไม่อาจยอมรับได้

การประท้วงของสุธีและประชาชนผู้มีใจบริสุทธิ์ และรักความถูกต้อง จำนวนนับล้านทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เป็นการต่อสู้ขับไล่รัฐบาลเผด็จการรัฐสภา ที่พยายามผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมอัปยศ เพื่อช่วยเหลือ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยให้พ้นความผิดที่ถูกตัดสินลงโทษจำคุก 2 ปี ในข้อหาคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นพี่ชาย นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ณ ขณะนั้น ตลอดจนถึงขบวนการปล้นภาษีประชาชนโดยรัฐบาลของเธอเองในโครงการประชานิยม “รับจำนำข้าว” ที่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยหลายแสนล้านบาท (เรื่องเช่นนี้ชาวเกาหลีเคยต่อสู้มาแล้ว)

การต่อสู้ดังกล่าวไม่อาจเรียกเป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจาก “การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” และนั่นคือสิ่งที่สุธีและพวกเราทุกคนที่นี่กำลังทำอยู่ (เรื่องนี้จึงอยากขอให้ท่านศึกษาประวัติการทำงานศิลปะของสุธีให้ดี จะพบว่าเขาไม่เคยเรียกร้องหรือสนับสนุนเผด็จการในทุกรูปแบบ)

การเกิดรัฐประหารนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มี “นักต่อสู้ประชาธิปไตย” คนใดต้องการให้เกิด และหากไม่มีเหตุผลปัจจัยเพียงพอ เช่น ความรุนแรง รัฐประหารก็ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้ ทำไมกลุ่มผู้คัดค้านผลงานของสุธีจึงป้ายความผิดให้แก่ผู้ชุมนุมประท้วงเพียงฝ่ายเดียว ทำไมพวกเขาเหล่านั้นจึงไม่ไปกล่าวหาฝ่ายรัฐบาลเผด็จการสภาอันเป็นต้นเหตุ

ผลงานของสุธีไม่มีความผิด และไม่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารแต่อย่างใด (โปรดอ่านถ้อยคำบนเนื้องานของสุธีประกอบ) ผลงานเหล่านี้เกิดขึ้นในบริบทของการประท้วงรัฐบาล ณ ขณะนั้น

ข้าพเจ้าจึงขอเรียกร้องให้ท่านมีสติและมีความอดทนต่อกระบวนการ “ใส่ร้ายป้ายสี” ทำลายเกียรติยศและชื่อเสียงของ สุธี คุณาวิชยานนท์ ศิลปินผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด และต้องขออภัยที่ท่านและองค์กรของท่านต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองอันสลับซับซ้อน สงครามสร้างภาพลักษณ์ การแย่งชิงมวลชน, อำนาจ และผลประโยชน์ของไทย

ด้วยความนับถือและจริงใจ

มานิต ศรีวานิชภูมิ (แสดงกวางจู เบียนนาเล่ 2006)
วสันต์ สิทธิเขตต์ (แสดงกวางจู เบียนนาเล่ 2004)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จม.ถึงหอศิลป์กวางจูฉบับที่ 2 ขอให้ติดตั้งจดหมายประท้วงคู่ผลงานศิลปะยุค กปปส.

0
0

กรณีหอศิลป์กวางจู แสดงผลงานศิลปะยุค กปปส. ในงานรำลึก 36 ปีสลายการชุมนุมกวางจูปี 1980 ล่าสุดบุคคลหลายวงการยื่นจดหมายเปิดผนึก กวป. ฉบับที่ 2 ถึงภัณฑารักษ์ ชี้แจงบริบทการเมืองไทย ความร่วมมือระหว่างศิลปิน Art Lane และ กปปส. และเรียกร้องให้พิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธี คุณาวิชยานนท์ ที่หอศิลป์กวางจู

ด้านอำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หัวหน้าศิลปินกลุ่ม Art Lane นึกว่าเป็นการกดดันให้ถอดงานแสดง จึงทำจดหมายเข้าชื่อกันเพื่อสนับสนุนสุธี ยืนยันว่าสุธีไม่สนับสนุนเผด็จการทหาร ผลงานของสุธีไม่เคยมีความบกพร่อง เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

สุธี คุณาวิชยานนท์ ถ่ายภาพคู่กับศิลปินชาวเวียดนาม เลอดุกไฮ (ซ้าย) และ เลองอกทัน (ขวา) ข้างหลังคือผลงานแสดงของสุธี ชุด  'Thai Uprising'ผลงานศิลปะของเขาในการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556 - 2557 (ที่มา: facebookpage/Hai Duc Le)

 

24 พ.ค. 2559 กรณีที่สุธี คุณาวิชยานนท์ อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำผลงานศิลปะไปแสดงที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการซึ่งมีผลงานของศิลปิน 5 ประเทศ มีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีเป็นศิลปะในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ซึ่งต่อต้านการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ และปูทางไปสู่การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 และต่อมามีบุคคลหลายวงการในประเทศไทยลงลายชื่อท้ายจดหมายเปิดผนึกในนาม "กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย"หรือ กวป. ทักท้วงลิม จองยัง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขานั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ต่อมาในวันที่ 18 พ.ค. สุธี ได้เขียนจดหมายชี้แจงไปถึงภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าวชี้แจงว่าเขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น กิจกรรมและความเชื่อของเขามีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือจลาจลกวางจู เมื่อปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

 

หอจดหมายเหตุ 518 ที่เมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ เป็นสถานที่จัดแสดงข้อมูล ภาพ และวัตถุที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังมีส่วนจัดแสดงข้อมูลการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ของเอเชียด้วย (คลิกเพื่อชมภาพหอจดหมายเหตุ 518)

 

กวป. ออกจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 เรียกร้องพิมพ์จดหมายประท้วงติดคู่ผลงานของสุธี

ล่าสุด "กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย"ได้ออกจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 ถึงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีใต้ โดยชี้แจงบริบททางการเมืองในประเทศไทย ความร่วมมือระหว่างศิลปินที่จัดกิจกรรมอาร์ตเลนและ กปปส. นอกจากนี้เรียกร้องให้ภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของหอศิลปะเมืองกวางจู กล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำไปสู่การเชื้อเชิญสุธี คุณาวิชานนท์เข้าร่วมการรำลึกการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเมืองกวางจู โดยทำเป็นภาษาเกาหลี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

นอกจากนี้ยังเรียกร้องพิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธีที่หอศิลปะเมืองกวางจู และให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธีและผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์โดยหอศิลปะวัฒนธรรมเมืองกวางจู รวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 "เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และคนรุ่นหลังจะเป็นผู้ตัดสินการกระทำของเราในวันนี้"โดยจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ฉบับที่ 2 รายละเอียดอยู่ที่ท้ายข่าว

 

หัวหน้ากลุ่ม Art Lane ล่าชื่อหนุนสุธี ยันไม่สนับสนุนเผด็จการทหาร ผลงานไม่เคยบกพร่อง

อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หัวหน้ากลุ่ม Art Lane (คนที่ 3 จากซ้าย) ร่วมแถลงข่าวจัดงาน Art lane #9 อิน แปซิฟิก ซิตี้ คลับ เมื่อ 29 เมษายน 2559 โดยเป็นความร่วมมือกับมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อประมูลผลงานของศิลปิน Art Lane ระหว่างวันที่ 12-17 พฤษภาคม เพื่อหารายได้ก่อสร้างอาคารเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ (ที่มา: แฟ้มภาพ/มติชนออนไลน์)

 

อนึ่ง มติชนออนไลน์รายงานเมื่อวันที่ 23 พ.ค. ว่า เฟซบุ๊กของ ชลิต นาคพะวัน อาชีพศิลปิน และนิติกร กรัยวิเชียร อาชีพช่างภาพ ได้เผยแพร่จดหมายฉบับหนึ่งซึ่งลงชื่อว่าเป็นของ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หัวหน้าศิลปินกลุ่ม Art Lane และยังมีตำแหน่งเป็นคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีผู้ร่วมกันลงชื่อท้ายจดหมายดังกล่าวเพื่อยืนยันว่าประวัติการทำงานของสุธีนั้น "ไม่มีแนวทางและแนวความคิดในการสนับสนุนเผด็จการทหารแต่อย่างใด รวมทั้งในประวัติการแสดงงานศิลปะของ รศ.สุธี ไม่เคยมีความบกพร่อง รวมทั้งมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้"โดยจดหมายเปิดผนึกที่ลงชื่อโดยอำมฤทธิ์ อยู่ที่ท้ายข่าว

มติชนออนไลน์ ระบุว่า มีผู้ร่วมลงชื่อเป็นจำนวนมากในหลากหลายสาขาอาชีพ อาทิ อาจารย์มหาวิทยาลัย ศิลปิน นางแบบ ผู้กำกับการแสดง ช่างภาพ บรรณาธิการนิตยสาร และผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น รศ.ดร.สุภาวี ศิรินคราภรณ์ อาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร, รศ.สิทธิพร ภิรมย์รื่น อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร, ลูกปลิว จันทร์พุดซา อาจารย์คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ม.ศิลปากร, อัญชลี ไพรีรักษ์ สื่อมวลชน, เบญญา นันทขว้าง เจ้าของธุรกิจส่วนตัว ,ทราย-วรรณพร ฉิมบรรจง ศิลปินและอดีตนักแสดง จี๊ด-สิกขา ฐิตาระดิษฐ์ (แสงทอง เกตุอู่ทอง) นางแบบชื่อดัง รวมถึงนนทรีย์ นิมิบุตร อาชีพผู้กำกับภาพยนตร์

 

อ้างมีการกดดันให้ถอดงานสุธี - ขณะที่ข้อเรียกร้อง กวป. แค่ขอให้หอศิลป์กวางจูนำเสนอเสียงที่แตกต่าง

ทั้งนี้ในจดหมายของกลุ่ม Art Lane ยังระบุว่ากลุ่ม กวป. "พยายามกดดันให้ภัณฑารักษ์ ชาวเกาหลี ถอดงานออกจากการแสดง"อย่างไรก็ตามเมื่อตรวจสอบจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ทั้ง ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ไม่มีข้อเรียกร้องให้ถอดงานของสุธีออกจากการแสดงแต่อย่างใด โดยในจดหมาย กวป. ฉบับที่ 1 เป็นการระบุข้อเรียกร้องว่าเป็นการถามภัณฑารักษ์ของนิทรรศการและคณะกรรมการ "ถึงกระบวนการคัดเลือกและเหตุผลที่เชิญสุธีเข้าร่วมในนิทรรศการ"และย้ำว่า "เชื่อในเสรีภาพในการแสดงออกว่ามีความสำคัญต่อศิลปิน แต่พวกเราต้องการแสดงความกังวลที่นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู"

ส่วนจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ฉบับที่ 2 เรียกร้องให้พิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธีที่หอศิลปะเมืองกวางจู เรียกร้องต่อภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของหอศิลปะเมืองกวางจูกล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำผลงานของสุธีมาจัดแสดง และเรียกร้องให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธี และผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์ โดยให้หอศิลปะเมืองกวางจูรวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อให้คนรุ่นหลังเป็นผู้ตัดสินการกระทำของทุกฝ่าย

อนึ่งก่อนหน้านี้ มานิต ศรีวานิชภูมิ และวสันต์ สิทธิเขตต์ ทำหนังสือถึงภัณฑารักษ์ที่กวางจู เพื่อสนับสนุนการแสดงงาน 'สุธี คุณาวิชยานนท์'ว่าเหมาะสม-สะท้อนภาพการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนไทยโดยศิลปินไทย พร้อมเรียกร้องภัณฑารักษ์ให้มีสติและอดทนต่อการ "ใส่ร้ายป้ายสี""ทำลายเกียรติยศและชื่อเสียง"ของสุธี "ผู้ต่อต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด"(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

000

จดหมายเปิดผนึกกลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ฉบับที่ 2

เรียนคุณลิม จองยัง ภัณฑารักษ์ และผู้อำนวยการหอศิลปะเมืองกวางจู
สำเนาเรียน มูลนิธิ May 18 Memorial Foundation

พวกเราขอขอบคุณที่ท่านสนองตอบต่อจดหมายเปิดผนึกอย่างรวดเร็ว จดหมายตอบของคุณแสดงให้เห็นความตั้งใจจริงที่จะสร้างความเข้าใจที่ดีร่วมกันระหว่างประชาชนไทยและพลเมืองชาวกวางจูตลอดจนประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย พวกเราหวังว่าจดหมายตอบโต้ของพวกเราจะทำให้เกิดความสนใจจากสาธารณชนอันเกิดจากกรณีการเข้าร่วมแสดงงานของศิลปินสุธี คุณาวิชยานนท์ ณ หอศิลปะเมืองกวางจู (Gwangju Museum of Art: GMA) เพื่อจะเรียนรู้ถึงความทุกข์ยากของประชาชนระหว่างการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เราต้องตระหนักอยู่เสมอว่าพวกเรายืนอยู่ได้ด้วยมรดกความเสียสละของพวกเขาเหล่านั้น

พวกเราได้สื่อสารไปยังเพื่อนสมาชิกกลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) เกี่ยวกับจดหมายตอบของคุณ และในนามของ กวป. พวกเรามีข้อเรียกร้องดังนี้

1. เพื่อทำความเข้าใจในบริบทงานของสุธี พวกเราเรียกร้องให้หอศิลปเมืองกวางจูติดตั้งจดหมายเปิดผนึกของเราคู่ไปกับผลงานของสุธี พวกเรายืนยันหลักการที่ว่าเราเคารพต่อเสรีภาพในการแสดงออกของศิลปิน แต่จากพฤติการณ์การเข้าร่วมกับกลุ่ม Art Lane (อาร์ตเลน) ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”  ( กปปส.) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการล้มล้างประชาธิปไตยไทย  หอศิลปเมืองกวางจูควรจะเผยแพร่ข้อมูลและเสียงที่แตกต่างออกจากผลงานของสุธี

2.  พวกเราใคร่ขออธิบายภูมิหลังการร่วมมือระหว่าง อาร์ตเลนและกปปส. และการใช้ความรุนแรงและทำลายล้างประชาธิปไตยในประเทศไทย

ตามข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งในเดือนพฤศจิกายน 2556 ทำให้ประชาชนไม่พอใจอย่างยิ่งและออกมาต่อต้านทั้งฝ่าย กปสส. และ นปช. บางส่วน และประชาชนทั่วไปที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดต่างพากันออกมาเรียกร้อง ประท้วงรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ได้ยุบสภาในวันที่ 10 ธันวาคม 2556 เป็นการคืนอำนาจให้ประชาชนเพื่อจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั่นถือเป็นแนวทางอารยะและสันติสุขในการแก้ปัญหาประเทศ หากแต่เป็นประเด็นสำคัญที่สุธีและผู้สนับสนุนของเขาไม่เคยกล่าวถึงเลย

แทนที่จะยอมรับการยุบสภาและเดินหน้าสู่การเลือกตั้งอันเป็นวิถีประชาธิปไตย บรรดา กปปส. และผู้สนับสนุนต่างปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีรัฐบาลพระราชทานซึ่งเป็นการการะทำที่ผิดรัฐธรรมนูญ ไม่เพียงแต่เท่านั้น ฝ่าย กปปส. ยังเร่งเร้าให้ผู้สนับสนุนออกมาปิดถนน ปิดสถานที่ราชการ และปิดหน่วยเลือกตั้งในทุกวิธีการที่ทำได้ ในนามการรณรงค์ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” ซึ่งปรากฏชัดในผลงานของสุธีและผู้สนับสนุนของเขา

ผลของการกระทำดังกล่าวจึงเกิดความรุนแรงบนท้องถนนในหลายจุดทั่วกรุงเทพมหานคร ภายใต้คำขวัญ ‘Shut Down Bangkok’ ทำให้ฝ่าย กปปส. เป็นผู้ได้เปรียบ และเป็นการรุกฝ่ายรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ ตลอดจนผู้สนับสนุนให้เหลือพื้นที่ไม่มากนัก

นอกจากนั้นยังมีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยที่ชี้ว่า ขบวนการ กปปส. เป็นเครือข่ายที่กระทำการร่วมกันและผลักดันให้เกิดวิกฤตจนเปิดทางให้ทหารและกองทัพเข้าแทรกแซง ซึ่งพวกเราสามารถเสนอผลงานวิชาการจำนวนมากในภาษาอังกฤษที่สนับสนุนข้อสรุปนี้  เพื่อให้สาธารณชนได้เข้าใจบริบทและสถานการณ์ทางการเมืองไทยที่ซับซ้อนดียิ่งขึ้น

ความรุนแรงบนท้องถนนที่สำคัญที่สุดกรณีหนึ่งก็คือกรณีการปะทะกันหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ซึ่งเกิดกรณีฝ่าย กปปส. กล่าวหาว่า ผู้ชุมนุม นปช. กรีดทำลายสัญลักษณ์พ่อขุนรามคำแหงและเป็นการกระทำที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ฝ่าย กปปส. เรียกร้องระดมคนให้มาปะทะกับฝ่าย นปช. ที่มาชุมนุม ณ รัชมังคลากีฬาสถานใกล้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง แม้จะอยู่ห่างไกลจากเวทีของฝ่าย กปปส. แต่พวกเขาก็ระดมคนมาปะทะจนเกิดผู้เสียชีวิต 5 ราย  ในจำนวนนี้เป็น นปช. 3 ราย เป็นฝ่าย กปปส. หนึ่งราย และมีผู้ติดในซากรถที่ถูกเผาหนึ่งราย มีผู้บาดเจ็บกว่า 68 ราย

กรณีการปะทะหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงอย่างต่อเนื่องบนท้องถนนของกรุงเทพมหานครนับแต่กรณีสลายการชุมนุมเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นับจากกรณีปะทะที่ถนนรามคำแหงมีผู้เสียชีวิตกว่า 25 ราย ในจำนวนนี้เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เสียชีวิต 3 นายจากความพยายามล้มการเลือกตั้งของฝ่าย กปปส. มีผู้บาดเจ็บรวมกันกว่า 782 ราย ส่วนใหญ่เป็นความรุนแรงที่ตั้งต้นจากฝ่ายนิยมความรุนแรงของ กปปส.

3. พวกเราเรียกร้องให้ภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของ GMA ได้กล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำไปสู่การเชื้อเชิญสุธี คุณาวิชานนท์เข้าร่วมการรำลึกการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเมืองกวางจู โดยกระทำเป็นภาษาเกาหลี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

4. พวกเราเรียกร้องให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธีและผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์โดย GMA รวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และคนรุ่นหลังจะเป็นผู้ตัดสินการกระทำของเราในวันนี้

ด้วยความสมานฉันท์
กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.)

ผู้ลงชื่อท้ายจดหมาย กวป. ฉบับที่ 2

1. Abhichon Rattanabhayon  Media studio 2. Akara Pacchakkhaphati  Film maker 3. Angkrit Ajchariyasophon  Artist/ gallerist 4. Anocha Suwichakornpong  Film maker 5. Anurak Tanyapalit Freelance 6. Anusorn Tipayanon   Writer 7. Apichatpong Weerasethakul     Film maker 8. Aranya SiriphonFaculty of Social Sciences, Chiang Mai University 9. Ariya Pacharawan Graphic designer 10. Ariya Theprangsimankul Theatre facilitator

11. Arjin ThongyuukongThammasat University 12. ArjinJonathan Arjinkit     Artist/ lecturer, Rajanagarindra Rajabhat University 13. Arnont Nongyao   Artist 14. Arthit MulsarnFreelance 15. Arthit Suriyawongkul Activist 16. Artit Srijan Lecturer, Phranakorn Rajabhat University 17. Asira Panaram Content Editor 18. Athapol Anunthavorasakul  Lecturer, Chulalongkorn University 19. Atikom Mukdaprakorn   Artist/ cultural activist 20. Attaphol Sudawannasuk Artist

21. Ben Busarakamwong   Cultural activist 22. Benjamas Boonyarit Student, activist 23. Benjamas Winitchakul Architect 24. Bordin TheparatFilm critic 25. Cattleya Paosrijaroen   Film maker 26. Chai Siris    Film maker 27. Chaiwat WiansantiaArtist 28. Chaiyan Rajchagool Scholar in residence, Faculty of Political and Social Sciences, University of Phayao 29. Chakkrit Chimnok   Artist 30. Chaloemkiat SaeyongFilm maker

31. Chanan YodhongPhD Candidate, Thammasat      University 32. Chanin sriyoyod Lecturer, Arts and design, Chaiyaphum Rajabhat University 33. Chayanin TiangpitayagornFilm critic 34. Chettapat Kueankaeo   Theater director 35. Chiranuch Premchaiporn   Journalist, director of Prachatai 36. Chontida Auikool    Thammasat University 37. Chotchuang MeepomLecture  38. Chulayarnnon Siriphol Artist/ film maker 39. Chuwat Rerksirisuk Editor in Chief of Prachatai  40. Chuveath DethdittharakInstitute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University

41. Danaya Chulphuthiphong  Photographer/ film maker 42. Ded Chongmankong   Photographer 43. Dollapak SuwanpanyaActivist 44. Dontree Siribunjongsak  Musician 45. Duangrit Bunnag Architect 46. Duangrurthai Asanachatang   Editor 47. Ekanop SuwannakosumGraphic designer/ lecturer, Chiang Mai University 48. Ekkalak NabthuesukLecturer 49. Farida Jiraphan   Performance artist 50. Foyfon Chaimongkol PhD Candidate, Burapha University

51. Gandhi Wasuvitchayagit  Writer 52. Ina PhuyuthanonLecturer, Faculty of Fine arts, Srinakharinwiriot university 53. Inthira Vittayasomboon   Cultural activist 54. Janit Feangfu    Lecturer, Chiang Mai University 55. Jarunun Phantachat Theatre director 56. Jirasak Monkiatkul   Interior designer 57. Jirat Prasertsup   Cultural activist  58. Jirat Ratthawongjirakul Gallerist 59. Judha Suwanmongkol Independent art writer/ researcher 60. Kahat Sujipisut    Artist

61. Kasem Phenpinant Department of Philosophy, Chulalongkorn University  62. Kampanart Sangsorn Illustrator 63. Kampol ChampapanHistorian 64. Kanteera Sanguantung 65. Karnt Thassanaphak Poet / documentary photographer 66. Kasem PhenpinantLecturer, Department of Philosophy, Chulalongkorn University 67. Kasiti Sangkul Film director 68. Kavintron Sangsakron   Performance artist 69. Keawalee Warutkomain  Art director 70. Kengkij KitirianglarpLecturer, Chiang Mai University

71. Kessarin Tiawsakul 72. Kittima Chareeprasit   Curator 73. Komluck Chaiya Lecturer,Phranakhorn Si Ayutthaya, Rajabhat University 74. Komtham Domrongchareon Lecturer, Silpakorn University 75. Kongkrit Traiyawong   Lecturer, Walailak University 76. Korada Srithongkird  77. Kornkrit Jianpinidnan   Artist 78. Kornrapin Mesiyahdol Lecturer, Chiang Mai University 79. Kriangkrai Patomnetikul Graphic designer 80. Krit Lualamai     Writer

81. Krittawit RimthepartipWriter 82. Ladapha Sophonkunkit  Performance artist 83. Ladda Kongdach   Performance artist 84. Lakkana Punwichai   Writer  85. Latthapon Korkiatarkul   Artist 86. Lyla Phimanrat    Gallerist 87. Makha Sanewong Na Ayutthaya Artist 88. Mit Jai Inn   Artist 89. Miti Ruangkritya   Artist 90. Mo Jirachaisakul   Artist

91. Montri Toemsombat   Artist 92. Nakin Poonsri Gardener 93. Namfon Udomlertlak   Film maker 94. Narawan Pathomvat    Researcher 95. Nataya U-Kong           Lecturer, Silpakorn University  96. Nawapooh Sae-tang   Critic 97. Nithinand Yorsaengrat   Journalist 98. Nok Paksanavin   Writer 99. Nontawat NumbenchapolFilm maker 100. Nopawat Likitwong   Sound artist/ sound engineer

101. Noraset Vaisayakul   Artist 102. Nut SawasdeeArtist 103. O Techadilok   Graphic designer 104. Orapakk Ruttphatai  PhD Candidate, Social Science, Chiang Mai University 105. Orawan Arunrak   Artist 106. Ornanong Thaisriwong Performance artist 107. Pakavadi VeerapasapongTranslator, writer 108. Pandit ChanrochanakitLecturer, Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University 109. Panithita Kiatsupimon Graphic designer 110. Panu Boonpipattanapong  Writer

111. Panu Trivej Lecturer, Kasetsart University 112. Paphonsak La-or   Artist 113. Parinot Kunakornwong   Artist 114. Pasakorn Intoo-Marn   Performance artist/ lecturer, Mahidol University 115. Patara PadungsuntararukThaksin University, Songkhla 116. Pathompon Tesprateep  Artist 117. Pattaranan TakkanonLecturer, Faculty of Architecture, Kasetsart University 118. Pavinee Samakkabutr   Performance artist 119. Pawaluk Suraswadi   Performance artist 120. Pawin Ramingwong   Artist/ lecturer, Phayao University

121. Penwadee Nophaket Manont Indendent curator/ cultural worker  122. Phonchai Iamnuy Graphic designer 123. Phu Kra-dart Writer 124. Pichaiwat Saengprapan  Artist/ lecturer, Srinakarinwirot University 125. Pimsiri Petchnamrob    Activist 126. Pinkaew Laungaramsri,Lecturer, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University 127. Pisit Darnwirunhawanit Freelance 128. Pisitakun Kuantalaeng  Artist 129. Pitch PongsawatLecturer, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University 130. Piyarat Piyapongwiwat   Artist

131. Pongjit  Saphakhun   Performance artist 132. Potjawan Panjinda   Gallerist 133. Prach PanchakunathornPhD candidate, Department of Philosophy, University of Toronto 134. Prakiat Khunpol Poet/ writer 135. Prapat Jiwanrangsan   Artist 136. Pratompong Namjaidee  Artist 137. Puangthong PawakapanFaculty of Political Science Faculty, Chulalongkorn University 138. Ratapong Pinyosophon Playwright 139. Ratchapoom BoonbunchachokeFilm maker 140. Rattanai Bampenyou Music teacher/ historian

141. Rittipong Mahapetch Activist 142. Rodjaraeg Wattanapanit  Cultural activist 143. Ruangsak Anuwatwimon  Artist 144. Sakkarin suttisarn/AssistantLecturer, Faculty of Finearts,   Chiangmai University  145. Santiphap inkong-ngamFilm maker/ lecturer, Chiang Mai University 146. Saran SamantaratLecturer, Department of Landscape, Faculty of Architecture Kasetsart University 147. Sathit Sattarasart Artist 148. Sawit Prasertphan   Artist/ lecturer, Chiang Mai University 149. Sina Wittayawiroj   Artist 150. Sirawish BoonsriArt Teacher

151. Sirichoke Lertyaso  Photographer/ writer 152. Siripoj Laomanacharoen  Writer  153. Somchai Saejiu Creative director 154. Sompoch AungArtist 155.Sompong LeerasiriArtist 156. Songkran SomchandraLecturer, Chiangmai Rajabhat University 157. Sorayut  Aiemueayut  Lecturer, Chiang Mai University 158. Suchada Suwannasorn Film producer 159. Suchart Swasdsri    Writer  160. Sukanya Seskhuntod   Cultural activist

161. Supachai AreerungruangLecturer, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University 162. Sutthirat Supaparinya   Artist 163. Tada Hengsapkul   Artist 164. Takerng PattanopasArtist 165. Tanaphon Inthong Artist 166. Tanate Makkasakul  Designer 167. Tanyanun Aoiaree Graphic designer 168.Techit Jiropaskosol Designer/ lecturer 169. Teeramon Buangam 170. Teerapon Anmai Lecturer/ writer

171. Teerapong Suthiwarapirak  Writer 172. Teerawat Mulvilai   Performance artist 173. Tepwuit BuatoomArtist 174. Thanapas DejpawuttikulDoctoral Researcher, Graduate School of Asia-Pacific Studies, Waseda University 175. Thanapol Virulhakul Choreographer 176. Thanavi Chotpradit Lecturer, Silpakorn University 177. Thanet AwsinsiriArtist/ lecturer 178. Thanom Chapakdee  Lecturer, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University 179. Tharit Tothong    Critic 180. Thasnai Sethaseree   Artist/ lecturer, Chiang Mai University

181. Thatchatham SilsupanComposer/ lecturer, Chiang Mai University 182. Thawiphat Praengoen   Artist/ cultural activist 183. Thida Plitpholkarnpim Film distributor/ Writer 184. Thitibodee Rungteerawattananon   Artist 185. Torwong Salwala Media Content Creator 186. Tossapon TassanakunlapanLecturer, Faculty of Law, Chiang Mai University 187. Uthis Haemamool   Writer 188. Uthit Attimana    Artist/ lecturer, Chiang Mai University 189. Verita SriratanaLecturer, Faculty of Arts, Chulalongkorn University 190. Vichapon Diloksambandh  Performance artist

191. Viengrat NethipoFaculty of Political Science Faculty, Chulalongkorn University  192. Vipash Purichanont PhD candidate, Department of Visual Cultures, Goldsmiths, University of London 193. Vorakorn Ruetaivanichkul  Film maker 194. Wachara Kanha Film maker 195. Warasinee ChansawangGallerist 196. Wasu wanrayangkoon  Performance artist 197. Wattakorn Kawinkham Artist 198. Weroon Wuthirithakul   Cultural activist 199. Wichanon Somumjarn   Film maker 200. Wichaya Artamat Theatre director

201. Wirapa Angkoontassaniyarat Editor 202. Wiwat Lertwiwatwongsa  Film critic 203. Worathep AkkabootaraIndependent curator/ writer 204. Yingsiwat Yamolyong   Film maker 205. Yingyod YenarkarnArtist 206. Yukti MukdawijitraLecturer, Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University 207. Yuthchack DamsuwanCreative director 208, Yutthana Darakron   Cultural activist 209. Yutthana MeesongCreative director

000

จดหมายเปิดผนึกของหัวหน้ากลุ่ม Art Lane

"ตามที่ได้มีกลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ทำจดหมายเปิดผนึก ลงนามโดยบุคคลในสาขาอาชีพต่างๆ รวม 118 ชื่อ ส่งถึงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีของพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ให้ทบทวนการนำผลงานของ รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์ออกแสดงในนิทรรศการ The Truth_to Turn It Over

โดยมีเนื้อหาชี้นำและปลุกปั่นว่าเป็นศิลปินที่สนับสนุนเผด็จการทหารให้ออกมายึดอำนาจ ประชาธิปไตยไปจากประชาชน คนไทย และพยายามกดดันให้ภัณฑารักษ์ ชาวเกาหลี ถอดงานออกจากการแสดง ที่ เมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้

เราขอยืนยันว่าจากประวัติการทำงานของ รศ. สุธี นั้นไม่มีแนวทางและแนวความคิดในการสนับสนุนเผด็จการทหารแต่อย่างใด รวมทั้งในประวัติการแสดงงานศิลปะของ รศ.สุธี ไม่เคยมีความบกพร่อง รวมทั้งมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้

จึงใคร่ขอความยุติธรรมให้กับศิลปินชาวไทย โดยร่วมกันลงชื่อสนับสนุน รศ.สุธี ในการแสดงผลงานที่กวางจู และคัดค้านการกระทำที่ขัดต่อความเป็นจริงในครั้งนี้

จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา

อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ
หัวหน้ากลุ่ม Art Lane"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'Guerrilla Boys'ไปถึงกวางจูโพสต์ป้ายประท้วงหน้างานศิลปะ กปปส.

0
0

ศิลปินกลุ่ม Guerrilla Boys เยือนหอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ พร้อมโพสต์รูปถือป้ายหน้าผลงานศิลปะยุค กปปส. ของ'สุธี คุณาวิชยานนท์'โดยในป้ายเขียนข้อความว่า "ผลงานนี้ยังคงรอ 'รัฐบาลทหาร'เนรมิตประชาธิปไตยให้พวกเขา"

ที่มาของภาพ: เพจ Guerrilla Boys เมื่อ 25 พ.ค. 2559

25 พ.ค. 2559 วันนี้ในเพจของกลุ่มศิลปิน Guerrilla Boys มีการโพสต์ภาพ คนสวมหน้ากากกอริลลายืนอยู่เบื้องหน้าผลงาน "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน"ผลงานศิลปะของสุธี คุณาวิชยานนท์ ที่จัดแสดงในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over’"ที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ โดยคนสวมหน้ากากกอริลลายังถือกระดาษเขียนข้อความว่า "This work still waiting 'Junta' create democracy for them!!!"หรือ "ผลงานนี้ยังคงรอ 'รัฐบาลทหาร'เนรมิตประชาธิปไตยให้พวกเขา"และลงชื่อ Guerrilllaboys ท้ายข้อความ

โดยภาพด้านหลังของศิลปินที่เป็นสมาชิก Guerrilla Boys เป็นโปสเตอร์ในงาน "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน"ที่สุธีสร้างสรรค์ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2556 - 2557 และใช้ในช่วงรณรงค์ของ กปปส. โดยในโปสเตอร์เขียนข้อความที่เป็นคำขวัญในช่วงการเคลื่อนไหวของ กปปส. เช่น "Reform Now ปฏิรูปก่อน""ยึดคืนประเทศไทย""ไทยอย่าเฉย"ฯลฯ

ทั้งนี้ในเพจของศิลปินกลุ่ม Guerrilla Boys ระบุว่าโปรเจกต์นี้เกิดขึ้นจากจดหมายฉบับที่ ธนาวิ โชติประดิษฐ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขียนจดหมายเปิดผนึกไปยัง ลิม จงยอง เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดง โดยในโพสต์มีการอ้างถึงจดหมายฉบับดังกล่าว

"เนื่องจากการที่เขาสนับสนุนรัฐบาลทหารเป็นสิ่งที่โจ่งแจ้ง ข้าพเจ้าจึงรู้สึกสงสัยที่ท่านในฐานะภัณฑารักษ์ของนิทรศการ 2016 Asian Democracy-Human Rights-Peace จึงเลือกให้เขามีส่วนร่วมกับงานนิทรรศการ ท่านได้ทำการบ้านค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะไทย ศิลปินไทย และความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันหรือไม่ ทั้งนี้มักจะมีกระบวนการจัดทำนิทรรศการชนิดขี้เกียจที่คู่กันไปกับภัณฑารักษ์ผู้เดินทางไปทั่วโลก แล้วมักจะเลือกศิลปินคนดังจากแต่ละประเทศด้วยความมักง่าย อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าหวังว่ากรณีนี้จะไม่เป็นหนึ่งในนั้น"(อ่านจดหมายฉบับดังกล่าว)

ที่มาของภาพ: เอื้อเฟื้อภาพโดยเพจ Guerrilla Boys เมื่อ 25 พ.ค. 2559

และเมื่อถ่ายภาพคู่กับงานศิลปะแล้ว Guerrilla Boys ได้ปริ้นท์รูปที่ถ่ายจากกล้องโพลารอยด์และลักลอบแปะภาพถ่ายในจุดต่างๆ เพื่อส่งสารถึงภัณฑารักษ์ของหอศิลปะเมืองกวางจูด้วย

อนึ่งสุธี คุณาวิชยานนท์ อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำผลงานศิลปะไปแสดงที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการซึ่งมีผลงานของศิลปิน 5 ประเทศ มีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีเป็นศิลปะในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ซึ่งต่อต้านการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ และปูทางไปสู่การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 และต่อมามีบุคคลหลายวงการในประเทศไทยลงลายชื่อท้ายจดหมายเปิดผนึกในนาม "กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย"หรือ กวป. ทักท้วงลิม จองยัง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขานั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ต่อมาในวันที่ 18 พ.ค. สุธี ได้เขียนจดหมายชี้แจงไปถึงภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าวชี้แจงว่าเขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น กิจกรรมและความเชื่อของเขามีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือจลาจลกวางจู เมื่อปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ล่าสุด "กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย"ได้ออกจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 ถึงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีใต้ โดยชี้แจงบริบททางการเมืองในประเทศไทย ความร่วมมือระหว่างศิลปินที่จัดกิจกรรมอาร์ตเลนและ กปปส. นอกจากนี้เรียกร้องให้ภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของหอศิลปะเมืองกวางจู กล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำไปสู่การเชื้อเชิญสุธี คุณาวิชานนท์เข้าร่วมการรำลึกการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเมืองกวางจู โดยทำเป็นภาษาเกาหลี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

นอกจากนี้ยังเรียกร้องพิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธีที่หอศิลปะเมืองกวางจู และให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธีและผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์โดยหอศิลปะวัฒนธรรมเมืองกวางจู รวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 "เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และคนรุ่นหลังจะเป็นผู้ตัดสินการกระทำของเราในวันนี้"(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ขณะที่อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หัวหน้าศิลปินกลุ่ม Art Lane และยังมีตำแหน่งเป็นคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เขียนจดหมายไปถึงภัณฑารักษ์ที่หอศิลปะเมืองกวางจู เพื่อสนับสนุนสุธี โดยมีผู้ร่วมกันลงชื่อท้ายจดหมาย เนื้อความในจดหมายระบุว่าประวัติการทำงานของสุธีนั้น "ไม่มีแนวทางและแนวความคิดในการสนับสนุนเผด็จการทหารแต่อย่างใด รวมทั้งในประวัติการแสดงงานศิลปะของ รศ.สุธี ไม่เคยมีความบกพร่อง รวมทั้งมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธี คุณาวิชยานนท์ ยินดีให้ติดจดหมายทักท้วงคู่งานศิลปะที่กวางจู-มานิตฮึ่ม! ยุให้ฟ้อง

0
0

“กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม” แถลงหนุน ‘สุธี คุณาวิชยานนท์’ ออกจดหมายถึงภัณฑารักษ์เกาหลี อย่าให้กลุ่มที่ไม่มีคนรู้จักอ้าง "ความถูกต้องทางการเมือง"เซ็นเซอร์การแสดงออกของศิลปิน - ทำลายชีวิตและวิชาชีพของศิลปินและนักวิชาการผู้เป็นที่นับถือ - มานิต ศรีวานิชภูมิ ฮึ่ม! รับไม่ได้ กล่าวหาลอยๆ ว่าต่อต้านประชาธิปไตย-ยุให้สุธีฟ้องกลับ หรือทำให้คนที่กล่าวหามาขอโทษ – สุธีแถลงศิลปินควรมีอิสระ-ไม่ถูกบังคับ ส่วนจะติดจดหมายทักท้วงคู่ผลงานก็ไม่มีปัญหา

26 พ.ค. 2559 กรณีที่ สุธี คุณาวิชยานนท์ อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับเชิญผลงานศิลปะชุด  The truth To turn it over ร่วมกับศิลปินอีก 5 ประเทศ ที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) อย่างไรก็ตาม มีผลงานส่วนหนึ่งของสุธีในชุด "มวลมหาประชาชน/Thai Uprising"เป็นงานในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ทำให้ “กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย” หรือ กวป. ทำจดหมายเปิดผนึกทักท้วงไปยังภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ โดยระบุว่าผลงานดังกล่าวของสุธีมีข้อเท็จจริงตรงข้ามกับจิตวิญาณการต่อสู้ของชาวกวางจู อีกทั้งยังมีสมาชิก กวป. แถลงว่า เป็นงานศิลปะของศิลปินที่สนับสนุน กปปส. และกลายเป็นส่วนหนึ่งของการล้มกระบวนการประชาธิปไตย

ผู้ร่วมแถลงข่าวสนับสนุนและให้กำลังใจสุธี คุณาวิชานนท์ (จากซ้ายไปขวา) จรูญ อังศวานนท์ ศิลปินแห่งชาติ, อภิศักดิ์ สนจด ผู้ดำเนินรายการ, ไพโรจน์ ธีระประภา หรือ โรจน์ สยามรวย ศิลปินนักออกแบบ ผู้ได้รับรางวัลศิลปาธร,  มานิต ศรีวานิชภูมิ ศิลปิน และ สุธี คุณาวิชานนท์

ผู้ร่วมแถลงข่าวสนับสนุนและให้กำลังใจสุธี คุณาวิชานนท์ (จากซ้ายไปขวา) จุมพล อภิสุข จรูญ อังศวานนท์ ศิลปินแห่งชาติ, อภิศักดิ์ สนจด ผู้ดำเนินรายการ, ไพโรจน์ ธีระประภา หรือ โรจน์ สยามรวย ศิลปินนักออกแบบ ผู้ได้รับรางวัลศิลปาธร,  มานิต ศรีวานิชภูมิ ศิลปิน และ สุธี คุณาวิชานนท์

ล่าสุดวันนี้ (26 พ.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่โรงแรม Somerset ทองหล่อ คณะศิลปินในนาม “กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม"นำโดยสุธี คุณาวิชยานนท์, จรูญ อังศวานนท์ จุมพล อภิสุข, มานิต ศรีวานิชภูมิ, ไพโรจย์ ศรีประภา อภิศักดิ์ สนจด ฯลฯ จัดแถลงข่าวในเรื่อง "บทบาทและจุดยืนของศิลปินที่มีจิตสำนึกสาธารณะ” ต่อกรณีที่ที่ กวป. ทำจดหมายประท้วงการแสดงผลงานของสุธีดังกล่าว

โดย "กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม"ได้เผยแพร่จดหมายถึงสื่อมวลชนในประเทศไทย และส่งจดหมายเปิดผนึกถึง จอง-ยัง ลิม ลงฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 และมีผู้ร่วมลงนามข้างท้ายเป็นจำนวน 512 คน โดยมีเนื้อหาว่า สุธีและเพื่อศิลปินภายใต้กลุ่ม Art Lane ได้ทำกิจกรรมระดมทุนและให้เงินสนับสนุนกลุ่ม กปปส. เพราะทุกคนมีแนวคิดและเป้าหมายที่ตรงกัน นั่นคือการคัดค้านกฏหมายนิรโทษกรรม และการคอรัปชั่นของรัฐบาลในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการจำนำข้าว การร่วมชุมนุมของสุธีและกลุ่มไม่ได้มีเจตนาที่จะปูทาง หรือสนับสนุนให้มีการรัฐประหารแต่อย่างใด ผลงานชุดดังกล่าวของสุธีนั้นได้แสดงถึงเสรีภาพในการทำงานของศิลปินตามแนวทางของประชาธิปไตย ซึ่งมีความสอดคล้องกับนิทรรศการที่จัดขึ้น ศิลปินทุกคนควรมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดเห็น อีกทั้งยังกล่าวว่า ลิม จองยัง ทำหน้าที่ภัณฑารักษ์ได้อย่างดีเยี่ยม ไม่สมควรทำตามกระแสกดดันจาก กวป. และเครือข่าย โดยเนื้อหาของแถลงการณ์สามารถอ่านได้ที่ท้ายข่าว

 

 

ส่วนหนึ่งของผลงานที่สุธี คุณาวิชยานนท์ จัดแสดงในนิทรรศการศิลปะ The truth To turn it over ที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่าง 10 พฤษภาคม - 15 สิงหาคม 2559 (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพโดย "กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม")

 

จรูญ อังศวานนท์ ไม่เชื่อบ้านเมืองอยู่ใต้เผด็จการ - คสชยุติความเสียหายก่อนจลาจลกลางเมือง

ในช่วงแถลงข่าว จรูญ อังศวานนท์ ศิลปินแห่งชาติ กล่าวว่า หากกล่าวว่าผลงานชิ้นดังกล่าวสนับสนุนเผด็จการ แล้วเผด็จการอยู่ที่ไหน ตนไม่เชื่อว่าตอนนี้บ้านเมืองอยู่ภายใต้เผด็จการ จรูญ กล่าวด้วยว่า คสช. เข้ามายุติความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์จลาจลกลางเมือง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้กล่าวได้ว่า ผลงานของสุธีกำลังถูกครอบงำจากการเป็นตัวเอง จากกลุ่มเผด็จการเลือกตั้ง ตนยืนยันว่าสุธีไม่ได้สนับสนุนเผด็จการ

 

มานิต ศรีวานิชภูมิ รับไม่ได้กล่าวหาลอยๆ ว่าต่อต้านประชาธิปไตย แนะนำสุธีให้ฟ้อง

มานิต ศรีวานิชภูมิ ศิลปิน กล่าวว่า เขารับไม่ได้กับเหตุการณ์ดังกล่าวที่มากล่าวหากันลอยๆ ว่าใครต่อต้านประชาธิปไตย ตนพยายามบอกสุธีว่าให้ฟ้อง หรือทำอย่างไรเพื่อให้กลุ่มคนที่มากล่าวหาออกมาขอโทษ โดยเฉพาะขอโทษออกสื่อ เพื่อที่จะได้รู้ว่าไม่สามารถออกมากล่าวหาใครได้ง่ายๆ

เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ชี้ให้เห็นได้ว่า หลายคนพยายามทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ขึ้น มีการพยายามปกปิดอะไรบางอย่าง และชูประเด็นบางอย่างขึ้นมาทดแทน เขากำลังช่วงชิงประวัติศาสตร์จากมวลมหาประชาชน ต้องแยกให้ออกว่าคนที่ออกมาประท้วงนั้นไม่ใช่คนที่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร

มานิตกล่าวทิ้งท้ายว่า ความคิดเห็นของเขาคือ หากไม่เห็นด้วยกับ กปปส. อย่างไรก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ไป

 

ไพโรจน์ ธีระประภา บอกอีกฝ่ายเลือกพูดบางส่วน ย้ำมีสิทธิแสดงความเห้น แต่ไม่มีสิทธิพิพากษา

ไพโรจน์ ธีระประภา ศิลปินนักออกแบบ รางวัลศิลปาธร กล่าวว่า ปัญหาหลักในตอนนี้นั้นคือความไม่เป็นธรรม การที่คนบางกลุ่มออกมาเลือกพูดบางส่วน หรือพูดความจริงแค่ครึ่งเดียวนั้น มันเป็นแค่การโฆษณา ไม่ใช่การเผยแพร่ความจริง ตนยืนยันว่าศิลปินมีสิทธิที่จะแสดงออก เหมือนกับกลุ่มอื่นๆ ก็มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น แต่ไม่มีสิทธิที่จะมาพิพากษาผลงานของคนอื่น

 

จุมพล อภิสุข ชี้ประชาธิปไตยของทุกคนไม่เหมือนกัน ศิลปะทุกกลุ่มควรหันหน้าพูดคุยกัน

จุมพล อภิสุข ศิลปิน กล่าวว่า ประเด็นนี้ค่อนข้างเปราะบาง ประชาธิปไตยของทุกคนไม่ได้หมายความว่าเป็นประชาธิปไตยที่เหมือนกันทั้งหมด การวิจารณ์งานศิลปะนั้นเกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย เพียงแต่จะวิจารณ์เพื่อเหตุผลใดเท่านั้น สุดท้ายแล้วศิลปินทุกกลุ่มก็ควรหันหน้าเข้ามาคุยกัน เพราะประชาธิปไตยที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายนั้นมันไม่ใช่ประชาธิปไตย

 

สุธียืนยันไม่สนับสนุนรัฐประหาร ตัวเขาเชื่อเรื่องเสรีภาพการทำงาน ไม่ขัดข้องหากจะติดจดหมาย กวป. คู่ผลงาน

สุธี คุณาวิชยานนท์ ระหว่างงานแถลงข่าว

ด้าน สุธี คุณาวิชยานนท์ ศิลปินเจ้าของผลงาน กล่าวว่า ยืนยันว่าตนไม่ได้สนับสนุนการรัฐประหาร ผลงานของตนในชิ้นอื่นๆ ก็เคยได้รับรางวัลจากกลุ่มที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันในขณะนี้ เขาเองมีความเชื่อในเรื่องของเสรีภาพในการทำงาน ศิลปินไม่ควรถูกบังคับและมีอิสระ ในการทำงาน การที่ตนเข้าร่วมกับกลุ่มศิลปิน Art Lane เพื่อสนับสนุนกลุ่ม กปปส. นั้น ตัวเขาก็ทำเพื่อต้องการช่วยเหลือและแสดงความคิดเห็นเพียงเท่านั้น

ในส่วนของผลงานที่หอศิลปะเมืองกวางจูนั้นหากจะมีการติดตั้งส่วนข้อทักท้วงจาก กวป. คู่กับผลงานของเขาก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่หากจะมีการถอนงานที่กำลังจัดแสดงอยู่นั้นตัวเขาไม่ยินยอม เนื่องจากการถอดงานดังกล่าวนั้นต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย ทั้งทางพิพิธภัณฑ์เองและเจ้าของผลงาน การออกมาแถลงข่าวในครั้งนี้ตนเพียงต้องการให้เกิดบรรยากาศที่ดีมากขึ้นทั้งที่ประเทศไทยและที่กวางจูเอง เนื่องจากทางหอศิลปะเมืองกวางจูก็มีความกังวลอย่างมาก การแถลงข่าวครั้งนี้จึงจัดขึ้นเพื่อให้เข้าใจในข้อเท็จจริงเดียวกัน สุธีกล่าว

สุธียังกล่าวทิ้งท้ายอีกว่า เขาไม่ได้รังเกียจที่จะถูกเรียกว่าเป็นศิลปิน กปปส. เพียงแต่ต้องถามว่าจะชี้วัดกันอย่างไรว่าใครเป็น กปปส. ในเมื่อบางคนก็มาเพราะมีจุดร่วมบางอย่าง ถึงแม้จะไม่ได้คิดเหมือนกันไปทั้งหมด ทั้งนี้งานแถลงข่าวของ “กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม"สิ้นสุดในเวลาประมาณ 12.30 น.

000

อนึ่งก่อนหน้านี้ “กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย” หรือ กวป. เขียนจดหมายเปิดผนึกและแนบรายชื่อถึงลิม จองยัง ภัณฑารักษ์ของหอศิลปะเมืองกวางจู 2 ฉบับ โดยทั้ง 2 ฉบับ ไม่มีข้อเรียกร้องให้ถอดงานของสุธีออกจากการแสดง โดยในจดหมาย กวป. ฉบับที่ 1 เป็นการระบุข้อเรียกร้องว่าเป็นการสอบถามภัณฑารักษ์และคณะกรรมการของหอศิลปะเมืองกวางจู "ถึงกระบวนการคัดเลือกและเหตุผลที่เชิญสุธีเข้าร่วมในนิทรรศการ"และย้ำว่า "เชื่อในเสรีภาพในการแสดงออกว่ามีความสำคัญต่อศิลปิน แต่พวกเราต้องการแสดงความกังวลที่นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู"(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ส่วนจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ฉบับที่ 2 เรียกร้องให้พิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธีที่หอศิลปะเมืองกวางจู เรียกร้องต่อภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของหอศิลปะเมืองกวางจูกล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำผลงานของสุธีมาจัดแสดง และเรียกร้องให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธี และผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์ โดยให้หอศิลปะเมืองกวางจูรวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อให้คนรุ่นหลังเป็นผู้ตัดสินการกระทำของทุกฝ่าย (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

อนึ่งเมื่อวันที่ 18 พ.ค. สุธี ได้เขียนจดหมายชี้แจงไปถึงลิม จองยัง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าวชี้แจงว่าเขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น กิจกรรมและความเชื่อของเขามีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือจลาจลกวางจู เมื่อปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ขณะเดียวกันเมื่อวานนี้ (25 พ.ค.) กลุ่มศิลปิน Guerrilla Boys และโพสต์ภาพ คนสวมหน้ากากกอริลลายืนอยู่เบื้องหน้าผลงาน "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน"ผลงานศิลปะของสุธี คุณาวิชยานนท์ ที่จัดแสดงในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over’"ที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ โดยคนสวมหน้ากากกอริลลายังถือกระดาษเขียนข้อความว่า "ผลงานนี้ยังคงรอ 'รัฐบาลทหาร'เนรมิตประชาธิปไตยให้พวกเขา"และลงชื่อ Guerrilllaboys ท้ายข้อความ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

000

เรียน สื่อมวลชนและประชาชนชาวไทยทุกท่าน

เรื่อง บทบาทและจุดยืนของศิลปินที่มีจิตสำนึกสาธารณะ

สืบเนื่องจากกรณีที่มีกลุ่มบุคคลในนาม “นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย” (กวป.) ทำจดหมายเปิดผนึกพร้อมแนบรายนามท้าย 118 คน (ต่อมาเพิ่มเป็นราว 200 คน) ถึง นายจอง-ยัง ลิม (Jong-Young Lim) ภัณฑารักษ์ผู้คัดสรรผลงานสำหรับนิทรรศการ The Truth To Turn It Over ที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสรำลึก 36 ปี ของการเคลื่อนไหวทางประชาธิปไตย 18 พฤษภาคม 1980 ของชาวกวางจู ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ โดยมีเนื้อหาในลักษณะคัดค้านการคัดเลือกผลงานชื่อ “Thai Uprising” ของรองศาตราจารย์ สุธี คุณาวิชยานนท์ โดยให้เหตุผลว่าผลงานชุดดังกล่าวที่รองศาสตราจารย์สุธีสร้างขึ้นระหว่างปี 2556 ถึง 2557 เพื่อประท้วงรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นการสร้างผลงานขึ้นมาในระหว่างจัดกิจกรรมกับกลุ่ม Art Lane เพื่อระดมทุนให้ กปปส. ซึ่งเป็นกลุ่มที่ประท้วงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและยังเรียกร้องให้ทหารทำรัฐประหาร

กวป. ได้กล่าวหาว่า “สุธีเข้าร่วมกับ กปปส. ซึ่งนำมาสู่วิกฤตทางการเมืองและรัฐประหาร”, “นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู” และมีสมาชิก กวป. ให้สัมภาษณ์ย้ำอีกว่า “งานศิลปะของศิลปินที่สนับสนุน กปปส. กลายเป็นส่วนหนึ่งของการล้มกระบวนการประชาธิปไตย...” กวป. ได้กดดันให้นายจอง-ยัง ลิม กล่าวขอโทษอีกด้วย นอกจากนี้สมาชิกบางคนของ กวป. และเครือข่ายในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คยังนำประเด็นดังกล่าวไปกล่าวหาต่อไปว่า รศ.สุธี และเพื่อนศิลปินที่ทำงานเคลื่อนไหวในขณะนั้นเป็น “ศิลปินต่อต้านประชาธิปไตย”

พวกเราในนามของ "กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม” หรือผู้ที่ลงนามข้างท้ายจดหมายเปิดผนึกถึงนายจอง-ยัง ลิม ฉบับลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 จำนวน 512 คน ขอแสดงจุดยืนในกรณีดังกล่าวดังนี้

1. ในระหว่างการชุมนุมปี 2556-2557 รศ.สุธีและเพื่อนศิลปินร่วมชุมนุมและทำงานศิลปะในการทำกิจกรรมและการระดมทุนของกลุ่ม Art Lane ในขณะที่ กปปส. เป็นแกนนำในการชุมนุม และให้เงินสนับสนุน กปปส. บางส่วนก็เพราะทุกคนมีแนวความคิดและเป้าหมายที่ตรงกันนั่นคือ คัดค้านกฏหมายนิรโทษกรรมที่ฉ้อฉล, คัดค้านการคอรัปชั่นของรัฐบาลในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "โครงการรับจำนำข้าว” และเรียกร้องการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้ประเทศไทยพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตยเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง

2. การร่วมชุมนุมและการทำงานศิลปะของ รศ.สุธีและเพื่อนศิลปินร่วมชุมนุมในขณะนั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะ "ปูทาง” หรือเรียกร้อง หรือสนับสนุนให้ทหารทำรัฐประหาร หรือสนับสนุนเผด็จการแต่อย่างใด

3. ผลงานชุด "Thai Uprising” ของ รศ.สุธี ได้แสดงถึงสิทธิ, เสรีภาพและหน้าที่ของศิลปินตามแนวทางประชาธิปไตย มีความเหมาะสมกับนิทรรศการ The Truth To Turn It Over ที่จัดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของชาวกวางจูเป็นอย่างยิ่ง นายจอง-ยัง ลิม ได้ทำหน้าที่อย่างดีเยี่ยม ไม่สมควรทำตามกระแสกดดันจาก กวป. และเครือข่าย

4. ศิลปินและนักทำงานด้านวัฒนธรรมทุกคน มี "สิทธิและเสรีภาพ” ส่วนบุคคลในการแสดงออกทางความคิดเห็นและการแสดงออกทางศิลปะเช่นเดียวกับประชาชนไทยทุกคน แต่สิ่งที่ใหญ่ไปกว่านั้นคือ "บทบาทและหน้าที่” ที่สำคัญยิ่ง ศิลปินฯ ต้องมีจิตสำนึกสาธารณะ รู้จักแบ่งปันเวลาของตนทำงานอุทิศให้สังคมโดยรวม ต้องมีสำนึกชอบในการที่จะช่วยปกป้องรักษาบ้านเมืองให้น่าอยู่สำหรับคนทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นประเด้นของการต่อต้านคอรัปชั่น, การส่งเสริมประชาธิปไตย, การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม

ด้วยความจริงใจ

“กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม”

(512 ชื่อแนบท้าย)

 

จดหมายเปิดผนึกถึงคุณ จอง-ยัง ลิม
“ความจริง-อย่ากลับหัว”

เราผู้ร่วมลงนามข้างท้ายนี้ ขอแสดงความห่วงใยอย่างสูงต่อการทำลายความน่าเชื่อถือทางวิชาชีพ เพื่อสังหารภาพลักษณ์ของ รองศาสตราจารย์สุธี คุณาวิชยานนท์ โดยกลุ่มบุคคลที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อนที่เรียกตนเองว่า “นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย” (กวป.)

การหมิ่นประมาทสร้างภาพกล่าวหารองศาสตราจารย์สุธี หลายครั้งอย่างจงใจว่าท่านเป็น “ศิลปินต่อต้านประชาธิปไตย” ไม่เพียงแต่ไร้ข้อเท็จจริงและเป็นพิษภัย แต่ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อชื่อเสียงและอาชีพการงานของรองศาสตราจารย์สุธี เราหวังว่าท่านจะไม่ถูกชักนำให้หลงประเด็นโดยความพยายามครั้งนี้ที่จะอ้าง “ความถูกต้องทางการเมือง” (“Political Correctness”) มาใช้เป็นเครื่องมือเซ็นเซอร์การแสดงออกของศิลปิน ทำลายชีวิตและวิชาชีพของศิลปินและนักวิชาการผู้เป็นที่นับถือ ซื่อตรงและกล้าหาญ ผู้มีเกียรติประวัติการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอันเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชนมายาวนาน

ด้วยความจริงใจ

 

Achara Jansanjai,Business Owner

Achita Pramoj Na Ayudhya,Artist

Adool Booncham,Artist,Lecturer

Aim-ora Bunnag,Top Management member,Intage Thailand-Market Research

Akalaphon Adam, Skull Artist

Alongkorn Lauwatthana,Artist

Alongkorn Sumalee,Automotive Engineer,Photographer

Alongkorn Thaubol, Business Owner

Alongkot Pechtsrisook, Artist

Amrit Chusuwan, Artist

Anag Pongpanon,Graphic Designers

Anan Nuchawong, Art Director

Ananya Sinwachara, Employee

Anchalee Paireerak,Reporter

Anchana Nangkala,Artist,Art Lecturer

Anilin Buranarisi, Self Employed

Anita Vachiramano, Self-employed

Anocha Thongpradoo, Employee

Anotai Ngamsrirat

Anucha Kaewvichain, Creative Director, Jump Communications

Anucha Prangprasert,Artist

Anuchai Secharunputong,Artist,Professional Photographer

Anurot Chanphosri,Freelance Artist

Anurux Jansanjai,Film Director

Anusara Chokvanithpong, Legal Director

Anusart Tubtun,Graphic Designer

Apawee Phuekchaidee,Banker,SCB Bank

Apichaya Jansinjai,Student at Cenral Saint Martins

Apiradee Chutatat,Veterinarian

Apisek Wongwasu,Bussiness Owner

Apishaya Tepnimit

Apiwut Thirachtikul,Artist,Graphic Designer,Fashion Designer

Aranya Siyanont, Director, Actor

Araya Pawangkanan,Interior Designer

Areepa Phuekchaidee,VP of UOB

Arkom Kongnaphakdee,At Director of VIF Sculpture co.,Ltd

Arkom Sombuttham, Artist

Arnond Sakwarawich, Ph.D., Head of Business Analytics and Intelligence Program, Graduate School of Applied Statistics, NIDA

Arpakorn Boonyakornburi, Artist

Artit Nantapornpipat,Freelance Artist

Arunee Chuboonraj, Assistant Editor Ploykaempetch Magazine

Arunee Hunsacharoonroj,Lecturer,Chulalongkorn University

Arunothai Jankamkum,Art Director

Ass.Prof.Arwin Intrungsri,Lecturer

Ass.Prof.Kittichai Kantang,Art Instuctor,Rajamangala Lanna University

Ass.Prof.Nawin Biadklang, Artist,Head of Painting Department,Silpakorn University

Assada Sreshthaputra,Director of Photography

Associate Professor Dr.Supavee Sirinkraporn,Instructor,Faculty of Decorative Arts,Silpakorn University

Associate Professor Sitthiporn Piromruen,Instructor,Faculty of Architecture,Silpakorn University

Associate,Dr.Khiensak Seangklieng,Architect

Athip Nana,Celebrity,Actor

Atikun Jansanjai,Student at Central Saint Martins

Atinuch Malakul, Dentist, Lecturer Chulalongkorn University

Atipat Kamonpet,Director

Atitaya Kantharak,Interior Designer

Attaporn Theemakorn, Director, Actor

Autchut Arayapongstorn,Executive Director

AVM.Sureeporn Boonjong, MD>Honorary Surveyor, The Healthcare Accreditation Institute(Public Organization) Ethic Committee, Thai Medical Council

Benya Nandakwang, CEO White Kitchen Company Limited

Boonkasem Kowsanti,Artist,Managing Director Krabi Heartel

Boonrot Meesupkwang,Artist,Head of Painting Department

Borirak Supatriworapong,Artist,Art Lecturer

Bulakorn Chantramitr,Freelance Artist

Buraorn Chumcheun, Radio Presenter

BusarinTanpipat,Lecturer

Captain Kaewlumhud,Lecturer in Advertising Design

Chai Rachawat, Editorial Cartoonist, Thairath Daily, Bangkok

Chainarong Wirunphat,Advisor,Art Lecturer

Chaipat Banditwattanawong,Designer

Chairat Bin-Abdunlahman,Artist

Chaiwoot Thaimpan, Artist

Chaiwut Ruemrhedeekul,Artist,Lecturer

Chaiyan Khomkeow,Artist,Lecturer

Chaiyaporn Chinaprayoon, Banker

Chaka Kulphaetya, Executie Secretary

Chalermpol Chomnakorn, Visualizer, Grouphead Advertising

Chalit Nakpawan, Artist

Chalitpan Niyomyam,Business Owner

Chalong Boonchantuk,Production Designer

Chamni Thipmanee,Artist,Professional Photographer

Chanachai Ketsrirat,Artist

Chananya Kuppatanortrta,Artist

Chanikan Sangdee,Teacher

Chanisara Tejasen, Senior HRBP, Gullivers Travel Associate, Thailand & Juoni Global Travel Expert

Chanjira Nimpitakpong,Bussiness Owner

Chanon Bovonmongkolsak, Self-Employed

Chantana Srisawat, Artist, Owner of Shata Studio

Chanya Thongnhu, Freelance Accountant

Charoenkwan Blarharski,Columnist

Charoon Ansavananda,The National Artist

Chatchawarn Chanchotibutr,Professional Photographer

Chatchawin Unhanun,Editor-In-Chief Men's Health(Thailand)

Chawanet Asanasen,Music Producer

Chaweewan Namkote,Staff Company Bookpromotion&service.co.Ltd

Chayakarn Nuamtiab, Service Support Officer, Bank of Ayudhaya Public Company Limited

Chira Vichaisutthikul,Artist,Professional Photographer

Chitsanuphong Phengpan,Editor-in-Chief Moremove

Chittima Srinun,Admin

Chiva Lapintungsutthi,Professional TV Producer,Chiva Classic

Chollasinth Chorsakul, Artist

Chomnad Manopaiboon, Chief, Prevention Section

Choncheun Soonthornrote,Employee

Chookiat Likitpunyarut, Interior Desinger, Lecturer

Chorbun Chuenprayoth,Creator

Chorbun Sirikojakorn, Export Sales & Marketing Supervisor, KC Fresh Company Limited

Chulalaux Piyasombatkul, Eyewear Designer, Owner Brand Moo Eyewears

Chumpol Apisuk,Artist

Chutaphant Pinswasdi, Retired Government Officer, Chulalongkorn University

Dinhin Rakpong-Asoke,Artist

Ditapong Boonsanong,Art Teacher

Doungkwan Viriyakijnateekul,Employee

Dr,Veerachai Tanpipat,Advisor of Hydro and Agro Informatics Institute,Ministry of Science and Technology

Dr.Churdchoo Ariyasriwattana

Dr.Patusiree Rattanakarn,Bussiness Owner

Dr.Samart Jubjon,Artist,Art Lecturer

Dr.Savitri Saengchansri

Duangchan Wongrabeab,Sales

Duangkeo Srichaiwan, Artist

Duangphorn Tangchitnob, Laem Thong Bird's Nest (Siam) Co., Ltd.

Duangrutai Kuakool, Nurse, Songklanagarind Hospital, Prince of Songkla University

Ekarat Chirapongse, Businessman

Em Singhaviboon,Art Teacher

Fontham Buaphuchphong,Artist

Gessanie Skuldist, Weaving Designer & Instructor

Gloyta Nathalang, Employee

Gumsak Atipiboonsin,Artist

Hassakun Chanklom,Bussiness Owner

Hassapong Chomchuenjitsin, Artist

Hassapop Tangmahamek, Writer & Assistant Director of ARDEL Gallery of Modern Art

Hatairat Estrella Montien, Museum Consultant

Imhathai Suwatthanasilp,Artist,Art Instructor , Silpakorn University

Ingsarut Buasa,Sopport Sale

James Alan Hutchison,Reporter,Cameraman

Jamigorn Sangsiri,Artist

Janthip Satiratham, Housewife

Janya Kwangkaew,Employee

Jaratsri Prasondee,Bussiness Owner

Jaru Wongkamchantra,Artist,Gallerist

Jaruwat Boonwaedlorm, Artist

Jaturong Padungsapya, Researcher

Jerawan Teraprechachan, Employee

Jessada Juncharungjit, Artist

Jetnipat Thatphaiboon,Artist

Jidtakorn Busaba, Television News Anchor, Columnist Naewna Newspaper

Jiravara Virayavardhana,Employee

Jiravich Nathalang, Employee

Jiravut Dusadeepun,Artist&Advertising

Jirawit Sombatsiri, Business Owner

Jirayu Cunningham,Housewife

Jirayu Uttaranakorn, Maganer, Communications and Strategies, Clean Energy Research Institute, Canada

Jitsing Somboon, Artist & Designer,Fashion Lecturer

Jo Surat,Professional Photographer

Kabngoen Settajinda, Team Executive, Brand Strategy Team, Bank of Thailand

Kachaphol Vichavesthepa,Architect

Kaewchieranai Chumsaeng Na Ayudhaya, Co-producer TV Program, Helconia H Group Co., Ltd.

Kaewtrakan Junlabon,Artist

Kamalinee Chaiyaphaeka,Nurse

Kamolchanok Poomrawan,Artist

Kamolwan Tapasanan, Director of Suvarnachard Animal Hospital, Mongkolchai Pattana Ltd.

Kanang Mendhaka,Creative,Freelance Artist

Kang Ampawa, Artist

Kanikar Viravan,Housewife

Kanjana Sirich,Lecturer,Kuakarun Faculty of Nursing.NMU

Kanjana Subsirikiate,Sales&Spec

Kanokporn Laopiyasakul,Art Teacher

Kanokwan Ploychad, Casting TVC 

Kanongnaj Yimsiri, Designer and Owner of Khien's Work Shop

Kantapat Viroonkawat,Thai Designer

Kanya Chareonsupakul,Artist,Art Instuctor,Silpakorn University

Kanyanat Pokpong,Teacher

Kasemsun Bhantumkomol

Keskarn Arirarat,Designer

Kiatanan Iamchan,Artist

Kidasada Bonnsire, Self-Employed

Kingtien Charoenyang, Producer,  Remind Co., Ltd.

Kitthanon Laosriwijit, Pure Precious Stones and Diamond Jewellry

Kitti Parimayatarchai,Artist

Kittichai Teeratwitcha,Freelance Artist

Kittinan Rakana,Film Director

Kittisak Cholprasertsuk,Artist

Kongsak Gulglangdon, Artist,Art Instructor , Silpakorn University

Korakoth Kunalungkarn, Interior Designer

Kosak Chotiyanonda, Managing Director, Sucharitkul Accounting and Legal Consultant Office

Kowit Anak-ananun, Artist

Kraisorn Prasert, Art Instructor

Krisana Chokchaowat,Freelance Art Director Magazine

Krissanapong Kiattisak, News Anchor Bluesky Chanel

Krissanapong Manotham,Employee

Kruawan Chownwai,Housewife

Kusuma Raksamani, Professor Emeritus, Silpakorn University

Ladda Lucas,Housewife

Lalinthorn Pencharoen,Artist,Lecturer,Silpakorn University

Lalit Lertmaithai,Creative

Lapon Kesornmala,Architect

Latchana Kongdee,Public Relations Manager

Luckkana Thaweesuk, Managing Director Media

Lugpliw Junpudsa,Art Lecturer, Sculpture Department,Silpakorn University

Mana Kwangsue,Artist

Manit Sriwanichpoom, Artist

Marisa Chadyapa,Production Designer

Mathurin Possawongse, Employee of Hua Seng Heng

Mattaya Suyasunanon,HR Consultant

Meenamett  Sirisuk,Artist

Miranti Borvornsin,Food Blogger,Food Influencer

Montika Boriboon, Researcher

Munchusa Watanaporn,Writer,Former Advisor Editor BaanLaeSuan Magazine

Napaporn Thongma,Nurse

Narisa Photidej,Housewife

Narodom Kamenketwit,Artist

Naruemon Sae Tae,Self Employed

Narumon Mitsang,Sales Manager Printing.Ltd

Natchaleeya Sutthiprasit,Designer

Natnicha Nattanakorn,Art Teacher

Nattalert Supatakanit,Sculptor

Nattamon Selakun,Bussiness Owner

Nattawut Yongpruksa, Ph.D., Scientist

Natthakan Taerajit,Freelance Artist

Natthapong Chanyoo, Faculty Member, Faculty of Liberal Arts, Mahidol University

Nirachorn Kuchonthara,BCOP,BCNSP,Thai BCP,Clinical Pharmacist and Educator,Bumrungrad International Hospital

Niran Krairiksh,Ex-Lecturer,Faculty of Decorative Arts,Silpakorn University

Niroj Jarungjitvittawat,Artist,Art Lecturer,Poh-Chang Academy of Art

Nisarat Sitasuwan, Writer

Nitawat Changchai, Director

Nitikorn Kraivixien,Artist,Professional Photographer

Nitipat Bhandhumachinda, Aquarium Fish exporter

Niwat Kongpien, Writer

Nongnuch Laicharoenwat,Housewife

Nonzee Nimitbutr,Thai Film Director

Nopadon Chotasiri, Artist

Noppadole Pollasilp,Freelance Writer,Movie&Music Critic 

Nopparat Chantramitr,Freelance Artist

Noppera Bosri,Visualizer,Artist

Nopporn Charatsri, Landscape Architect

Norasate Mudkong, D.J.

Numthong Thongyai Na Ayudhaya, Film Director, Phenomena

Nutchanat Invert,Graphic Designer

Nuttakarn Therajit, Artist

Nuttana Chaipatkorn, Interior Designer and Owner of Interior Wizard co, Ltd.

Nuttaporn Muchjimworng,Banker

Ochana Poonthongdeewatthana,Lecturer,Silpakorn University

Ongart Cheamcharoenpornkul,Artist

Ong-art Sukramani

Opas Chotiphantawanon,Artist

Oranee Na Nagara, General Manager Studio de Nagara Ltd.

Orawan Khaengpenkhae,Bussiness Owner

Pairoj Teeraprapa, Silpathorn Aritst 2014 (Graphic Design)

Pairoj Wangbon, Artist

Paitoon Chongthong, Artist

Pakakul Snidvongs, Lecturer

Pakkaporn Maison,Coordinator

Pakkavee Kongthong, Medical Technologist, Hatyai Hospital

Pakorn Klomklieng,Freelance Curator

Pakornpat Chatakaisorn,Artist,Lecturer

Palida Wichaisutthigul, Housewife

Palut Marod, Artist

Pananual Lertmaithai

Pancha Soonthornrote,Business Owner

Panchit Phruksangkul,Bussiness Owner

Panich Phupratana, Artist

Panicha Pongpat,MD

Pannaphan Yodmanee,Artist

Pansa Sunavee,Artist,Photographer

Pantila Pattamavanitch, Administraive Chief, CAT Telecom

Panumas Tasila,Art Director

Parada Kantapattanakul, Self-employed

Parames Rachjaibun, Chairman and CEO, Turnaround Focus Co., Ltd.

Paranee Jethsomma,  Managing Director Sunshine Etcetera Co., Ltd.

Parichat Pilaipongse, Translator

Parit Wongphaet,M.D.

Parkob Suntavakil,Employee

Pasit Kanasirichainon, Self- Employed

Passorn Nanthawaree,Senior Museum Creative and Copy Writer

Patamavalai Ratanapoom, Life Coach

Patariya Ngammuk, Ph. D. Assistant Dean, Bangkok University International College

Patiwat Tui-on,Architect

Patrawan Palakawongs Na Ayudhya

Pattanun Iamsa-ard,Freelance Artist

Pawanrat Naksuriya,Director-Actor

Paweena Uanomjitkul,Lecturer,Silpakorn University

Peerapong Daungkeow,Artist

Peeraya Kosumditsaphon,Sales Presentative

Pensiri Sawaitviharee, Housewife

Permsak Siwayabrahm,Architect

Phacharin Sommai,Business Owner

Phansa Buddharaksa, Artist

Pha-oon Chantarasiri,Director-Actor

Phasook Thepmani,Retired

Phatchravut Patsoongnern,Carpenter

Phatwut Chorphaka,Physical Therapist

Piangkhwuan Kumrune,Business Owner,Artist

Pichet Kitcharoenka,Studio Manager

Pichet Meevongpan,Architect

Pijak Hinjiranan,Architect

Pim Yingwong, Manager at Pim Group Ltd.

Pimonmas Rattchada, Air Purser, Thai Airways International PCL.

Pimpaween Sunthontammarat,Executive Curator,Gallery Director,Art Blogger,Art Columnist  

Pinya Jaimeetam,Artist

Pitchaphong Prasong,Freelance Artist

Piyathida Kasemsri, Graphic Designer

Plub Boonsuan,Artist,Curator

Pongpaiboon Siddhigu, Film Director, The Film Factory Ltd.

Pongphawan Asitirat,Artist

Pongpipat Vigrantanoros, Creative Director

Pongprom Snitwong na Ayuthaya, Artist, Musician, Composer, Humming House Ltd., Lecturer Silpakorn University

Pongsiri Kiddee,Artist,Lecturer

Ponkamol Akkararungsakul Philipsen,Managing Director Oriental Spirit Denmark

Ponpen Lertchaipattanakul, Thail-Chinese Translator

Pornnarin Sribuoroe,Production Designer

Pornpraseart Yamazaki,Artist

Pornsawan Nonthapha, Artist

Prachaya Ladachati, Artist

Praipot Chunlawong,Freelance Artist

Prakairung Puengpanwuth,Grapic Designer

Pranot Keawbucha,Master of Music Program Faculty of Humanities and Social Scienes Kanchanaburi Rajabhat University

Praphan Sakdasak,Architect

Praptpadol Suwanbang,Actor,Artist

Prasert Punsomrong,Artist

Prasert Treepundhupitak,Freelance Artist

Prasit Wichaya, Artist

Pratai Sangrakaite,Business Owner

Pravina Ratyantarakor, Managing Director, White Kitchen Company Limited

Prayuth Chumphol,Employee

Pree Jindarjoana, Ceramic Designer at Nerb Shop

Preecha Tayeb,Architect

Preeyanit Thanakornkittiyothin, Accounting Manager, Thai Satori Co., Ltd.

Premjai Vungsiriphisal, Senior Researcher

Pridtee Suttabusaya,Thailand PGA Golf Coach

Prof. Thavorn Ko-udomvit, Vice President for Art and Culture, Silpakorn University, Director of ARDEL Gallery of Modern Art

Prof.Dr.Santi Leksukhum,Art History Specialist,Art History Lecturer,Faculty of Archeology,Silpakorn University

Punnapa Onsarn,Bussiness Owner

Punyawee Chomchuenjitsin, Artist

Rajit Saeng xuto, Film Director

Rapeepun Sudharomna, New Business & Strategic Planning Director

Ratana Chavananand,Bussiness Owner

Ratana Thienlikit, Engineer

Ratchada Kattiya,Bussiness Owner

Ratnakorn Kiatpayathai,Boxer

Rattana Salee, Artist

Rattapoom Piwpantamit

Raveewat Panchuy,Art Instructor

Rawewan Prakobpol,Business Owner

Reed Boonnao, Freelance

Reungrit Sawasdee,Lawer

Reungsak Pudghavaro,Artist,Art Lecturer

Rit Prompichan, Farmer

Ronnachai Kitisaksin,Artist

Ruenrit Sawasdee,Lawyer

Rutthapat Traipipopphakee,Bussiness Owner

Saipin Thurahan, Business Owner

Sakchai Uthitho, Artist

Sakwut Wisesmanee, Artist

Salinee Hanvareevongsilp, Writer

Samran Mompagul, Lecturer, Chiang Mai University

Santi Thongsuk,Artist

Santisuk Laungsanam,Artist,Lecturer

Sapisara Khemthong, Art Theorist

Saraawud Siritham,Student

Sarand Chaiyasutra,Artist

Sarasatre Romyanon,Producer

Sarayut Phoungsujarit,Online Marketing

Sarunpong Mongkolsilpa,Sales Executive

Sasithorn Hanpanich, Entrepreneur

Sasiwimol Sujit, Artist

Satthacharkon Racha-apai, Assistant Training Manager, Manulife Life Assurance PCL.

Shinnawat Saengungsumalee, Studentof Faculty of Pharmacy Rangsit University

Siam Wichaipruek,Architect

Sikha Thitaradis,Model,Artist

Sinjai Plengpanich, Actor

Sippapas Thienmee,Designer

Sirianong Namwongprom, MD.PhD Associate Professor, Department of Radiology, Faculty of Medicine, Chiangmai University

Sirichai Rianjareon, Furniture Designer

Sirikan Punnachet,Housewife

Sirikul Tangkavarut, Bank Employees, Krung Thai Bank Public Company Ltd.

Sithichoke Nuamcharoen, Artist

Sithikorn Thepsuwan, Artist and Lecturer

Sithiporn Ritthinumporn,Architect

Siti Bunyapana, Restaurant Owner and Chef

Sittikorn Tapsuwan,Art Lecturer,Songklanakarin University,Pattani

Sivilai Somsong, Radio Presenter

Somboon Piriyapakdeekul, Dop/Big Eye Co., Ltd.

Somchai Napatsuthon,Graphic Designer

Somkiat Wijitpalakat,,Artist,Lecturer

Somphob Sanggerd, Freelance Film Director

Sompop Budtarat,Artist

Somsak Kitmungsa, Medical Doctor

Somsak Sansukjareonpol, Artist

Songchai Buachum, Artist

Songpot Saisueb,Architect

Songvut Kositarut, Lecturer-Prince of Songkla University International Collete, Adobe Certified Instructor

Songyote Waeohongsa,Former Lecturer

Sorarat Jirabovornwisut, Self-employed

Soraya Weesakul, Printing Director, PEA

Sresuda Wongwiseskul,Lecturer,Faculty of Nursing,Suandusit University

Sriwan Janehattakan,Artist,Art instructor

Sruiurai Prijasilpa Scarratt, Retired

Suchera Nimitraporn, House Wife

Suddhiman Pokachaiyapat, Housewife

Sudlah Prichanon, Physician

Sunakorn Niyomyam,Business Owner

Sunan Singthong, Dentist

Sunpat Charoensiraroj, Account Managemnet Delphys Hakuhodo

Supakit Ngarmpakbund, Manager Assistant Nissan Transport Co.

Supalagsana Sontichai, Reitired Government Officer, Customs Department and Author-Translator

Supaporn Chaidee,Villa Host

Supaporn Pattamasophon, Artist

Suparee Boonyoung, Tourist Guide

Supatra Boonpanyarote, Ph.D. Lecturer, Faculty of Humanities, Ramkhamhaeng University

Supawat Watthanapikowit, Artist,Lecturer

Supharsit Vongromngen,Artist

Suppathida Thammahol, Artist

Surachai Chomchuenjit, Lecturer

Surachet Thongme, Director of Photography

Suradecht Wathanapraditchai, Artist

Suraporn Lertwongpaitoon,Artist

Suriya Chayacharoen,Lectuer,Artist

Surussavadi Chuarchart, Film Director

Suthipong Worakeowmueng,Artist

Suttada Achirakumpu,Magazine Projects

Suwanna Somsawasdi,Employee

Suwatchai Changsang,Artist

Suwit Maprajuab,Artist

Tana Phothong,Artist

Tanadol Derujicharoen, Artist

Tanakorn Sararak, Artist

Tanit Peanmaneewong, Artist

Tanong Pakkru,Architect

Tanyaluk Pipatkasira,Sales Promotion Manager

Tarinee Kanchanawaong, Managing Director, Fierce Co., Ltd.

Tayawat Trakulthong, Farmer

Techa Tabthong, Activist-Social Worker

Teera Chuvichayanont,Business Owner

Teerapat Pringsulaka

Teerapong Pitaksaringkarn,Art Instuctor,Ratchabhat Leoi University

Teeraporn Pinsuwan,Artist

Teerasak Lertlikitwinai,Artist Lecturer

Tepdanai Wedklang,Architect

Thamrongrat Boonparyol, Photographer

Thanakorn Boonlue, Artist

Thanaporn Thidiseree, Official at Provincial Electricity Authority

Thanasap Tribunyatikul,General Manager

Thanatas Kamsant,Bussiness Owner

Thanatip Jirawanicharoen,Artist

Thanchanok Kaewta, Account Executive Informatix Plus Co., Ltd.

Thanwa Huangsamut,Freelance Artist

Tharathorn Koonchanok,Consultant

Tharrinee Snidvongs, Interior Designer, Lecturer

Thassina Boonsuan,Art School Owner

Thawaratt Samakchantor, Artist

Thayakorn Thongjua,Bussiness Owner

Thep Pilan Phongparnich,Record Producer,Band Manager

Thepprasit Ruttanarueangchot,Artist

Thienprasit Chaiyapatranun, Executive Director of Grand Diamond Suites Hotel

Thippawan Krutbangyang,Art Teacher

Thitima Bundhumasuta,Freelance Photographer

Thitiwat Sripichayasak,Artist

Thongchai Seenuannonsakul,Manufacturing Manager

Thongchai Srisukprasert, Artist,Art Instuctor, Silpakorn University

Thunwa Huangsamoot, Artist

Tiamjai Komkris, Retired Professor

Tipanan Nakata,Sales Manager

Tipawan Oungkiros, Business Owner

Torroong Jarungidanan,Publisher,Instructor

Trissawan Parnpob, Employee

Tul Hirunyalawan, Lecturer, Faculty of Art and Design, Rangsit University

Udom Torrarit,Artist,Graphic Designer

Udom Udomsrianan, Artist, Designer

Ukaew Sanasen, Artist

Uraiwan Pongtanuwat, General Service Officer

Usanee Zenlee,Sales

Uthaiwan Vichachang, House Wife

Ut-sa Waiyasrisaeng, Artist

Vanich Sooksiri, Film Director

Vanut Angsuwan,Artist,Lecturer

Vasan Sittjiket, Artist

Veerawat Khumrim,Artist

Veravit Malikul,Interior Designer

Vilailak Udomsrianan, Creative Director

Viroj Jongpaiboonkij,Interior Designer

Viruch Rugvong,Bussiness Owner

Visanu Paisanfuengfoong,Artist

Vitidnan Rojanapanich,Producer

Vorawut Klongtaew, Sales Executive CVS Design & Advertising Co., Ltd.

Wacharipon Pattanatonya,Design Director,Fashion Buyer

Waigoon Stapanavatr Assistant Dean,Faculty of Medicine,Navamindharadhiraj University

Wanna Nawigamune, Member of the Board of the Faculty of Humanities, Kasetsart University

Wannaphon Chimbanchong,Artist,Gallerist

Wannasan Danraj,Freelance Artist

Wannee Komarakul Na Nagara, Managing Director, Dentsu Thailand

Wanwipa Malikul,Marketing Director

Waraporn Puangthai,Editor

Warongrong Tungkham, Marketing Director, Asiatic Agro Industry, Co., Ltd.

Wasan Danraj, Artist

Wasan Peungprasert,Professional Photographer

Wasant Yod-im,Lecturer,Rangsit University

Wasanti Petchkul,Artist

Wasinburee Supanichvoraparch, Silpathorn Artist (Ceramics)

Watana Kreethong, Artist

Wathin Chatkoon,Faculty of Philosophy and Religious,Srinakharinwirot University

Wattana Kruangpech,Art Student

Wesaratt Sangkawanitt, Copy Writer

Wichai Chavengvorakul,Bussiness Owner

Wichai Yothawong,Art Lecturer,Digital Media Department,SriPratum University

Wilai Jiraittiwanna, Business Owner

Wimol Rattanakittiaporn, Self-employed

Wirawoot Boonnuerng, Artist

Witsanu Paisarnfeungfung,Freelance Artist

Wongsapat Sirikojakorn,Sales Used Car Engine&Parts

Worakorn Thamrongthat, Artist

Woranood Wooti-utadom, Employee

Worasak Wongwichit,Business Owner

Worawit Keawsrinoum, Artist

Yanis Tipakorn, Employee

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรณีงานศิลปะสุธี-หอศิลป์กวางจูแสดงความเสียใจไม่ได้ศึกษาการเมืองไทยเพียงพอ

0
0

หอศิลป์เมืองกวางจูและภัณฑารักษ์เสียใจที่เกิดข้อขัดแย้งในงานศิลปะ ‘มวลมหาประชาชน’ ของสุธี คุณาวิชยานนท์ และเสียใจที่ไม่มีความสามารถพอที่จะศึกษาการเมืองไทย โดยหอศิลป์จะจัดการบรรยายสาธารณะเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะและการเมืองในประเทศไทย และยินดีเผยแพร่เอกสารของกลุ่มหนุน-ค้านการแสดงงานของสุธี และจะรวบรวมเอกสารทั้งหมดในหอจดหมายเหตุเพื่อให้สาธารณชนสามารถใช้ศึกษาต่อไป

ส่วนหนึ่งของผลงานที่สุธี คุณาวิชยานนท์ จัดแสดงในนิทรรศการศิลปะ The truth To turn it over ที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่าง 10 พฤษภาคม - 15 สิงหาคม 2559 (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพโดย "กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม")

ศิลปินนิรนามกลุ่ม Guerrilla Boys โพสต์ภาพอยู่เบื้องหน้าผลงาน "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน"ผลงานศิลปะของสุธี คุณาวิชยานนท์ เมื่อ 25 พฤษภาคม 2559 โดยศิลปินนิรนามผู้สวมหน้ากากกอริลลายังถือกระดาษเขียนข้อความว่า "This work still waiting 'Junta' create democracy for them!!!"หรือ "ผลงานนี้ยังคงรอ 'รัฐบาลทหาร'เนรมิตประชาธิปไตยให้พวกเขา"และลงชื่อ Guerrilllaboys ท้ายข้อความ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

 

13 มิ.ย. 2559 กรณีที่ สุธี คุณาวิชยานนท์ อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับเชิญผลงานศิลปะชุด The truth To turn it over ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) นั้น

อย่างไรก็ตาม มีผลงานส่วนหนึ่งของสุธีในชุด "มวลมหาประชาชน/Thai Uprising"เป็นงานในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ทำให้ “กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย” หรือ กวป. ทำจดหมายเปิดผนึกทักท้วงไปยังภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ โดยระบุว่าผลงานดังกล่าวของสุธีมีข้อเท็จจริงตรงข้ามกับจิตวิญาณการต่อสู้ของชาวกวางจู อีกทั้งยังมีสมาชิก กวป. แถลงว่า เป็นงานศิลปะของศิลปินที่สนับสนุน กปปส. และกลายเป็นส่วนหนึ่งของการล้มกระบวนการประชาธิปไตย

ล่าสุดมีจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ถึงผู้ที่เคยร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกชี้แจงความคืบหน้าของการตอบสนองจากภัณฑารักษ์ และพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู มีรายละเอียดดังนี้

000

จดหมายเปิดผนึกถึงผู้ร่วมลงชื่อ กวป.

ในนามของผู้ประสานงานนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ขอแจ้งความคืบหน้าของการตอบสนองของภัณฑารักษ์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ต่อการทักท้วงและข้อเรียกร้องของ กวป. ดังนี้

ประการแรก ภัณฑารักษ์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูได้สนองต่อข้อเรียกร้องของ กวป. และการเรียกร้องจากกลุ่มต่างๆ ในหลายประการด้วยกัน

1. สำหรับข้อเรียกร้องจาก กวป. ให้ภัณฑารักษ์ชี้แจงกระบวนการคัดเลือกผลงาน ภัณฑารักษ์ได้ชี้แจงว่า “ด้วยเพราะไม่มีความรู้เพียงพอ เมื่อปีที่แล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูจึงได้ขอคำปรึกษาจากผู้ดูแลแกลอรี่ในกรุงโซลที่เชี่ยวชาญศิลปินเอเชียนให้แนะนำเกี่ยวกับผลงานของศิลปินที่ทำงานในประเด็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ทางพิพิธภัณฑ์สนใจงาน “ห้องเรียนประวัติศาสตร์” (History Class) ของ รศ. สุธี โดยเฉพาะในแง่ที่เป็นผลงานเชิงความสัมพันธ์ (relational) ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับผลงานได้ด้วย พร้อมทั้งสนใจผลงานของศิลปินคนอื่นๆ ซึ่งทางผู้ดูแลแกลอรี่ดังกล่าวแนะนำมา ทางพิพิธภัณฑ์จึงเชิญ รศ. สุธีไปสัมมนาที่พิพิธภัณฑ์เมื่อปีที่แล้ว และจึงยินดีที่จะเชิญ รศ. สุธี ไปร่วมแสดงงานในนิทรรศการที่แสดงอยู่ขณะนี้ ดังที่เขาได้เคยชี้แจงมาก่อนหน้านี้แล้ว”

(Lacking information of its own, the Gwangju Museum of Art asked a gallerist in Seoul, who is knowledgeable on Asian artists, last year for recommendations of artists who work with historical themes. The museum was interested in Mr. Kunavichayanont’s History Class, in particular how it is relational (how it invites audience participation), among the works by different artists presented to us by the gallerist. We therefore invited Mr. Kunavichayanont to a seminar at our museum last year, and we thus became comfortable inviting Mr. Kunavichayanont to exhibit in our current exhibition, as we have previously explained to you.)

ทางพิพิธภัณฑ์และภัณฑารักษ์ยังได้กล่าวแสดงความเสียใจว่า “ไม่ว่าจะด้วยประการใด พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูและข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจที่ได้เกิดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการร่วมแสดงงานของ รศ. สุธี นี้ขึ้นมา และเสียใจที่ทางเราไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะศึกษาถึงการเมืองไทยและความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับการเมืองในการจัดแสดงผลงานครั้งนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นิทรรศการนี้เป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ “18 พฤษภา” (May 18th)”

(In any event, the Gwangju Museum of Art and I regret that the current controversy has arisen regarding Mr. Kunavichayanont’s participation in our exhibit, and that we were unable to examine Thailand’s political situation and art’s relationship to politics for our current exhibition, particularly given that the exhibition commemorates May 18th.)

ในจดหมายตอบฉบับก่อนหน้า (ซึ่งเขาได้บอกกล่าวกับสื่อมวลชนด้วย) ภัณฑารักษ์ยังอธิบายว่า ในกระบวนการคัดเลือกงาน เขาไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และบริบททางการเมืองของผลงาน รศ. สุธี ชุดนี้ดีพอ หากแต่เลือกผลงานเพียงเพราะมีรูปแบบการแสดงออกที่คล้ายคลึงกับที่ประชาชนกวางจูใช้ในการต่อต้านเผด็จการในเหตุการณ์ “18 พฤษภา” เท่านั้น

2. ภัณฑารักษ์แจ้งว่า พิพิธภัณฑ์ได้ติดตั้งข้อความว่า “ขณะที่มีคนมองว่าการเดินขบวนประท้วงในปี 2556-2557 นั้นเป็นการต่อต้านการออกกฎหมายนิรโทษกรรมและการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หากแต่มีอีกฝ่ายมองว่า การประท้วงนั้นเป็นการปูทางไปสู่การรัฐประหารของกองทัพ” (While some view the 2013-2014 Bangkok protests as having been in opposition to the Yingluck administration’s amnesty bill and corruption, others feel the protests paved the way for a military coup.) ในทันทีที่ผลงาน Thai Uprising ถูกตั้งคำถามทักท้วง และตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วพิพิภัณฑ์ยังได้แสดงข้อความอธิบายกระบวนการคัดเลือกผลงานมาจัดแสดง พร้อมทั้งแสดงจดหมายของ กวป. ฉบับแรก แสดงจดหมายอธิบายจุดยืนจาก รศ. สุธี และจดหมายจากผู้สนับสนุน รศ. สุธี ไว้ในงานแสดงผลงาน

3. กวป. ยืนยันในหลักการเสรีภาพของการแสดงออกและเคารพในความคิดเห็นของศิลปิน จึงไม่ได้เรียกร้องให้พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูต้องถอดผลงานแต่อย่างใด (ตั้งแต่จดหมายฉบับแรกที่ส่งไป) หากแต่ ภัณฑารักษ์แจ้งว่า มีข้อเรียกร้องจากกลุ่มในเกาหลีเองให้ถอดถอนผลงาน Thai Uprising ของ รศ. สุธี ทว่าเนื่องจากตามข้อตกลง การถอดถอนผลงานต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของผลงาน ซึ่ง รศ. สุธี ได้ปฏิเสธการถอดถอนผลงาน ทางภัณฑารักษ์จึงแจ้งว่าไม่สามารถถอดถอนผลงานตามข้อเรียกร้องของกลุ่มในเกาหลีได้

ประการที่สอง ทางพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูและภัณฑารักษ์ได้เชิญ ดร. ธนาวิ โชติประดิษฐและผู้ประสานงาน กวป. อีกหนึ่งคน ไปบรรยายเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะและการเมืองในประเทศไทย ทาง กวป. ตอบรับคำเชิญ การบรรยายนี้จะเป็นบรรยายสาธารณะ และทางพิพิธภัณฑ์จะจัดทำเอกสารประกอบการบรรยายจากคำบรรยายของตัวแทน กวป. เพื่อเผยแพร่ต่อไป

ประการที่สาม ทาง กวป. เรียกร้องเพิ่มเติมว่า ขอให้พิพิธภัณฑ์เผยแพร่จดหมายเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ต่อสาธารณชน และขอให้พิพิธภัณฑ์ยืนยันว่าจะเก็บรวบรวมจดหมายและเอกสารเหล่านี้ไว้ในหอจดหมายเหตุของพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงสำหรับการศึกษาวิจัยในประเด็นนี้ได้ต่อไป

หากมีความคืบหน้าประการใดต่อไป คณะผู้ประสานงานจะรายงานให้ทุกท่านทราบเพิ่มเติม พร้อมกันนี้ เนื่องจากข่าวคราวของการทักท้วงนี้กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่แวดวงศิลปะและผู้สนใจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดตามอย่างกว้างขวาง จึงขอแนบรายงานข่าวของสื่อมวลชนต่างประเทศมาท้ายกับจดหมายนี้ด้วย

ด้วยความนับถือ

ผู้ประสานงาน กวป.

000

อนึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 26 พ.ค. คณะศิลปินในนาม “กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม"นำโดยสุธี คุณาวิชยานนท์, จรูญ อังศวานนท์ จุมพล อภิสุข, มานิต ศรีวานิชภูมิ, ไพโรจย์ ศรีประภา อภิศักดิ์ สนจด ฯลฯ จัดแถลงข่าวในเรื่อง "บทบาทและจุดยืนของศิลปินที่มีจิตสำนึกสาธารณะ” ต่อกรณีที่ที่ กวป. ทำจดหมายประท้วงการแสดงผลงานของสุธีดังกล่าว

โดย "กลุ่มศิลปินและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม"ได้เผยแพร่จดหมายถึงสื่อมวลชนในประเทศไทย และส่งจดหมายเปิดผนึกถึง จอง-ยัง ลิม ลงฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 และมีผู้ร่วมลงนามข้างท้ายเป็นจำนวน 512 คน โดยมีเนื้อหาว่า สุธีและเพื่อศิลปินภายใต้กลุ่ม Art Lane ได้ทำกิจกรรมระดมทุนและให้เงินสนับสนุนกลุ่ม กปปส. เพราะทุกคนมีแนวคิดและเป้าหมายที่ตรงกัน นั่นคือการคัดค้านกฏหมายนิรโทษกรรม และการคอรัปชั่นของรัฐบาลในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการจำนำข้าว การร่วมชุมนุมของสุธีและกลุ่มไม่ได้มีเจตนาที่จะปูทาง หรือสนับสนุนให้มีการรัฐประหารแต่อย่างใด ผลงานชุดดังกล่าวของสุธีนั้นได้แสดงถึงเสรีภาพในการทำงานของศิลปินตามแนวทางของประชาธิปไตย ซึ่งมีความสอดคล้องกับนิทรรศการที่จัดขึ้น ศิลปินทุกคนควรมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดเห็น อีกทั้งยังกล่าวว่า ลิม จองยัง ทำหน้าที่ภัณฑารักษ์ได้อย่างดีเยี่ยม ไม่สมควรทำตามกระแสกดดันจาก กวป. และเครือข่าย

ขณะที่สุธี ซึ่งร่วมแถลงข่าวด้วยกล่าวยืนยันไม่สนับสนุนรัฐประหาร และเขาเชื่อเรื่องเสรีภาพการทำงาน ไม่ขัดข้องหากพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูจะติดจดหมาย กวป. คู่ผลงาน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทำจม.ขอบคุณหอศิลป์กวางจู กรณีงานศิลปะสุธี

0
0


โปสเตอร์งาน 'The Truth_ to Turn It Over' (ที่มา: Artmuse.gwangju.go.kr)

กรณีพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู เชิญ สุธี คุณาวิชยานนท์ ร่วมแสดงผลงานศิลปะในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over'ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) ระหว่างวันที่ 10 พ.ค.-15 ส.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดกระแสวิจารณ์ในประเทศไทย เนื่องจากมองว่าผลงานแสดงของสุธีบางส่วน เป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านประชาธิปไตยและปูทางไปสู่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดยบุคคลหลายวงการในไทยในนามกลุ่ม นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกเพื่อทักท้วงกรณีดังกล่าว ต่อมา หอศิลป์เมืองกวางจูและภัณฑารักษ์ได้แสดงความเสียใจที่เกิดข้อขัดแย้งในงานศิลปะ ‘มวลมหาประชาชน’ ของสุธี คุณาวิชยานนท์ และเสียใจที่ไม่มีความสามารถพอที่จะศึกษาการเมืองไทย และได้เชิญ ธนาวิ โชติประดิษฐ ตัวแทน กวป. ไปบรรยายสาธารณะเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะและการเมืองในประเทศไทย พร้อมรวบรวมข้อถกเถียงทั้งหมดเป็นหนังสือ


หนังสือรวบรวมข้อถกเถียงกรณีดังกล่าว

ล่าสุด (18 ส.ค. 2559) นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) โดย บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ, ธนาวิ โชติประดิษฐ, ถนอม ชาภักดี, ทัศนัย เศรษฐเสรี และ ยุกติ มุกดาวิจิตร ผู้ประสานงาน ทำจดหมายเปิดผนึกถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ขอบคุณพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูและ ลิม จอง-ยัง ภัณฑารักษ์ ที่สนองตอบต่อประเด็นดังกล่าวอย่างเป็นมืออาชีพและมีประสิทธิภาพ

รายละเอียดมีดังนี้

จดหมายเปิดผนึกถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู
(พร้อมกับส่งให้ May 18 Memorial Foundation (มูลนิธิรำลึกเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม))

นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ขอขอบคุณที่ท่านได้แสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อผลงาน Thai Uprising ของ รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์ ในนิทรรศการ The Truth to Turn It Over ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู

กวป. และพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูได้แลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่า ผลงาน Thai Uprising อันเป็นผลงานส่วนหนึ่งของ รศ. สุธี ในระหว่างที่เขามีส่วนร่วมกับกลุ่มศิลปิน Art Lane นั้น เป็นที่รับรู้กันว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" (กปปส.) ซึ่งก่อผลสะเทือนต่อเส้นทางสู่ประชาธิปไตยของประเทศไทยอย่างกว้างขวาง การเคลื่อนไหวของขบวนการ กปปส. ได้นำไปสู่การแทรกแซงของกองทัพใน พ.ศ. 2557 ประเทศไทยจึงตกอยู่ใต้อำนาจครอบงำของกองทัพนับตั้งแต่นั้นมา แม้ว่าคณะรัฐประหารสัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งในปี 2560 แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่ากองทัพจะถอนตัวจากการเมืองไทย ดังนั้น การร่วมแสดงงานของ รศ.สุธี ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูจึงนับได้ว่า เป็นการสบประมาทต่อจิตวิญญาณการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนกวางจู

หลังจากที่ กวป. และพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูหารือจนได้ข้อยุติร่วมกัน กวป. ยินดีอย่างยิ่งที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูและภัณฑารักษ์คือคุณลิม จอง-ยัง (Lim Jong-Young) ได้เผยแพร่คำขอขมาต่อสาธารณชนในระยะเวลาอันสมควร นอกจากนั้น ทางพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูยังติดตั้งแผ่นป้ายอธิบายประเด็นซับซ้อนทางการเมือง ณ ที่จัดแสดงงานเพื่อให้ผู้เข้าชมผลงานได้อ่าน เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์และคณะศิลปินจำนวนหนึ่ง มีส่วนพัวพันกับขบวนการ กปปส. ซึ่งปูทางไปสู่การรัฐประหารเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 และพวกเขายังคงสนับสนุน กปปส. อยู่จนทุกวันนี้

กวป. ขอขอบคุณที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูได้เชิญ ดร. ธนาวิ โชติประดิษฐ ตัวแทน กวป. ไปบรรยายสาธารณะเรื่อง Dazed and Confused: Thai Art in the 10-Year Political Division ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา

สุดท้ายแล้ว กวป. ขอขอบคุณพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูและภัณฑารักษ์คือคุณลิม จอง-ยัง ที่สนองตอบต่อประเด็นนี้อย่างเป็นมืออาชีพและมีประสิทธิภาพ

กวป. เชื่อมั่นว่า จิตวิญญาณการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยได้รับการทดสอบมาอย่างต่อเนื่อง และความเข้าใจระหว่างกันในประเด็นนี้ได้แสดงให้เห็นว่า จิตวิญญาณของประชาชนกวางจูและประชาชนชาวไทยผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยได้รับการยกย่องอย่างเหมาะสมแล้ว

ด้วยมิตรภาพ
นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.)
ผู้ประสานงาน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ธนาวิ โชติประดิษฐ
ถนอม ชาภักดี
ทัศนัย เศรษฐเสรี
ยุกติ มุกดาวิจิตร

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไผ่ ดาวดิน ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนจากประเทศเกาหลีใต้

0
0

ไผ่ ดาวดิน ผู้ต้องหาคดี 112 จากการแชร์รายงานข่าวพระราชประวัติ ร.10 ได้รับรางวัลนักปกป้องสิทธิจากเกาหลีใต้พร้อมเงิน 50,000 ดอลลาร์ ผู้ที่เคยได้รับรางวัลนี้มาแล้วได้แก่ นางอองซาน ซูจี จากประเทศพม่า นายสมบัด สมพอน ทนายสิทธิผู้ถูกบังคับให้สูญหายชาวลาว กลุ่มรณรงค์การเลือกตั้งที่สะอาดและยุติธรรม หรือ ‘Bersih’ ประเทศมาเลเซีย และนางอังคณา นีละไพจิตร 

14 เมษายน 2560 เวลา 11.10 น. ประชาไทได้รับแจ้งจาก สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดลว่า ทางสถาบันได้รับอีเมล์แจ้งว่า นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดินนักศึกษา ม.ขอนแก่น นักกิจกรรมนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน (Gwang Ju Prize for Human Rights)ประจำปี 2560 จากมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)


อีเมล์ดังกล่าวได้ส่งถึง ไผ่ ดาวดิน และสถาบันสิทธิฯ ซึ่งเป็นองค์กรที่เสนอชื่อให้ ไผ่ เข้ารับรางวัลดังกล่าวโดยเนื้อหาส่วนหนึ่งได้ระบุว่า

“ คณะกรรมการคัดสรรรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี 2017 ขอชื่นชมความกล้าหาญและจิตใจรักความเป็นธรรมของคุณที่เคลื่อนไหวต่อสู้กับเผด็จการและการละเมิดสิทธิมนุษยชน เราเล็งเห็นด้วยว่าการต่อสู้ของคุณช่วยปลุกเร้าประชาชน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ให้หันมาสนใจสภาพการณ์ทางการเมืองและความสำคัญของการแก้ไขปัญหา รวมทั้งได้สร้างคุณูปการต่อการเรียกร้องระบอบประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศไทย”

ในจดหมายได้เชิญให้ไผ่เดินทางไปรับรางวัลในวันที่  18 พฤษภาคม 2560 ที่เมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ โดยได้ระบุว่าหาก ไผ่ ไม่สามารถเดินทางไปรับรางวัล ให้ตัวแทนของไผ่ เป็นผู้ไปรับรางวัลแทน นอกจากการรับเกียรติบัตรแล้วทางมูลนิธิยังจะได้มอบเงินให้กับผู้ได้รับรางวัล 50,000 ยูเอสดอลลาร์ 

มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) เจ้าของรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ก่อตั้งขึ้นโดยเหยื่อของการปราบปรามการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่เมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ (เมื่อปี 2523)  มูลนิธิได้ทำงานรวบรวมและบันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ปราบปรามสังหารประชาชนที่เมืองกวางจู เพื่อเป็นการสืบสานเจตนารมย์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และสนับสนุนและเผยแพร่การเรียกร้องประชาธิปไตยและการทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชนในเอเชีย ซึ่งรางวัลที่ ไผ่ และนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียงอีกหลายคนได้รับเป็นหนึ่งในกิจกรรมของมูลนิธิ 

สำหรับผู้ที่เป็นที่รู้จักในวงกว้างที่เคยได้รับรางวัลมาแล้วได้แก่ นางอองซาน ซูจี อดีตผู้เรียกร้องประชาธิปไตย เลขาธิการพรรค NLD และ รมว.ต่างประเทศพม่า นายสมบัด สมพอน (2015) ทนายความนักสิทธิมนุษยชน ประเทศลาวที่ถูกบังคับให้หายสาบสูญ และกลุ่มรณรงค์การเลือกตั้งที่สะอาดและยุติธรรม หรือ ‘Bersih’ ประเทศมาเลเซีย

สำหรับผู้ได้รับรางวัลชาวไทยคนแรกได้แก่ นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของนายสมชาย นีละไพจิตรทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่ถูบังคับให้สาบสูญ โดยรางวัลดังกล่าวได้รับเมื่อปี 2549 (2006)  และในปัจจุบันนี้นางอังคณา ได้รับการสรรหาให้เป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

0000


เนื้อหาในจดหมาย

 

เรียน คุณจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา

มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) มีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะแจ้งให้คุณทราบว่า คุณคือผู้ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี 2017 ขอแสดงความยินดีด้วย

คณะกรรมการคัดสรรรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี 2017 ขอชื่นชมความกล้าหาญและจิตใจรักความเป็นธรรมของคุณที่เคลื่อนไหวต่อสู้กับเผด็จการและการละเมิดสิทธิมนุษยชน เราเล็งเห็นด้วยว่าการต่อสู้ของคุณช่วยปลุกเร้าประชาชน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ให้หันมาสนใจสภาพการณ์ทางการเมืองและความสำคัญของการแก้ไขปัญหา รวมทั้งได้สร้างคุณูปการต่อการเรียกร้องระบอบประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศไทย

พิธีรับรางวัลจะจัดขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม 2017 ที่เมืองกวางจูระหว่างการจัดงาน Gwangju Asia Forum ในช่วงวันที่ 16 -18 พฤษภาคม เราจะยินดีเป็นอย่างยิ่งหากคุณสามารถมาร่วมเวทีเสวนานี้ โดยเฉพาะพิธีมอบรางวัล ทางมูลนิธิยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางมายังประเทศเกาหลี

หากคุณไม่สามารถมาร่วมงานได้ โปรดแจ้งให้เราทราบถึงบุคคลที่จะมาเป็นตัวแทนของคุณ แต่เราภาวนาขอให้คุณได้รับอิสรภาพในเร็ววันเพื่อที่เราจะได้พบคุณที่เมืองกวางจู หากมีสิ่งใดก็ตามที่เราสามารถทำได้เพื่อให้สิ่งนี้เป็นจริง โปรดบอกให้เราทราบทันที เราจะยินดีอย่างที่สุดหากได้ช่วยเหลือคุณ

ขอแสดงความยินดีอีกครั้งที่คุณได้รับรางวัลนี้ สิ่งที่แนบมาด้วยคือจดหมายเชิญและเอกสารขอข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น

ด้วยความนับถือ

อินเร ยู
ผู้ประสานงานกิจการระหว่างประเทศ




Dear Mr. Jatupat Boonpattararaksa,

The May 18 Memorial Foundation is very happy and honored to inform you that you are the winner of the 2017 Gwangju Prize for Human Rights. Congratulations.

The 2017 GPHR Selection Committee thought highly of your brave and noble actions against dictatorship and violations on human rights. We also noticed that your struggles have aroused attention about political conditions and the importance of their improvement among your citizens, especially among the young and have contributed to bringing democracy to Thailand.

The Award Ceremony will be held on May 18, 2017 in Gwangju during the 2017 Gwangju Asia Forum between May 16 and 18. We would be pleased if you are present at the Forum, especially at the Award Ceremony. All the expenses related to your visit to Korea will be covered by the Foundation.

If unfortunately, though, you are not available for it, please inform us of someone who can be your surrogate for the occasion. But we do pray that you are freed soon enough so we see you in person here in Gwangju. If there is anything that we can do to make this happen, please let us know. We will be more than happy to assist with you.

Congratulations again on your award winning. Please note the attachments of the invitation letter and other papers for further information.

Sincerely,

Inrae You
International Affairs Coordinator



เกี่ยวกับ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน 

‘ไผ่ ดาวดิน’ หรือนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นักศึกษาและนักกิจกรรมที่เริ่มเป็นที่รู้จักจากการต่อสู้ร่วมกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการโครงการพัฒนาต่าง ๆ ในภาคอีสาน ในช่วงหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557  ไผ่และเพื่อนเคยชู 3 นิ้วพร้อมใส่เสื้อที่เรียงกันเป็นข้อความว่า “ไม่เอารัฐประหาร” ต่อหน้าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรัฐประหาร คสช.ที่สนามหน้าศาลากลาง จ.ขอนแก่น

ในปีต่อมาไผ่และกลุ่มกิจกรรมนักศึกษาดาวดินก็ได้จัดกิจกรรมรำลึก 1 ปี รัฐประหารที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จ.ขอนแก่น ก่อนที่จะลงมาร่วมกับกลุ่มนักศึกษาและนักกิจกรรมในนามขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) ชุมนุมต่อต้าน คสช. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพฯ จนเป็นเหตุให้ถูกแจ้งข้อหาดำเนินคดีและถูกจับขังอยู่ในเรือนจำ

ต่อมาเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2559 ไผ่ และกลุ่มกิจกรรมใน ม.ขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมพูดเพื่อเสรีภาพฯ เพื่อรณรงค์เรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นประชามติ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จนถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง หน.คสช. หลังจากนั้นไผ่และเพื่อนอีก 1 คนยังได้ไปแจกเอกสารรณรงค์ประชามติ ที่ จ.ชัยภูมิ จนเป็นเหตุให้ถูกแจ้งข้อหากระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งมีโทษจำคุกสูงถึง 10 ปี

เหล่านี้คือเหตุการณ์ที่ทำให้ไผ่ถูกจับกุมและดำเนินคดีช่วงหลังรัฐประหาร ซึ่งนับรวมการจับกุมและดำเนินคดีในครั้งนี้ถือได้ว่าไผ่ถูกจับกุมทั้งหมด 5 ครั้ง และถูกดำเนินคดี 5 คดี


ในส่วนคดีของนายจตุภัทร์ หรือไผ่ ดาวดิน เกิดจากการเข้าแจ้งความดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 โดย พ.ท. พิทักษ์พล ชูศรี หัวหน้าชุดปฏิบัติการพิเศษ มณฑลทหารบกที่ 23 จากการที่จตุภัทร์ ได้แชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ BBC Thai เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2559 ซึ่งมีผู้แชร์บทความดังกล่าวประมาณ 2,800 ครั้ง แต่มีจตุภัทร์เพียงคนเดียวที่ถูกจับกุมดำเนินคดี โดยในวันที่ 3 ธ.ค. 2559 จตุภัทร์ ถูกจับกุมตัวที่จังหวัดชัยภูมิ ขณะกำลังร่วมขบวนธรรมยาตรา กับพระไพศาล วิสาโล โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แสดงหมายจับที่ออกโดยศาลจังหวัดขอนแก่น

ต่อมาในวันที่ 4 ธ.ค. 2559 ศาลได้พิจารณาอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จตุภัทร์ โดยทนาย พร้อมนายประกันได้ยื่นหลักทรัพย์ 4 แสนบาท และให้เหตุผลไว้ในคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวว่า จตุภัทร์ เป็นผู้ต่องหาคดีการเมืองอยู่ 4 คดี แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีพฤติกรรมหลบหนี อีกทั้งในวันที่ 8 ธ.ค. ผู้ต้องหามีสอบเป็นวิชาสุดท้าย หากไม่ได้เข้าสอบวิชาดังกล่าวจะส่งผลให้เขาเรียนไม่จบตามหลักสูตร ศาลจึงพิจารณาให้ประกันตัว

ต่อมาในวันที่ 22 ธ.ค. 2559 ศาลจังหวัดขอนแก่น ได้นัดพิจารณาคำร้องของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น ที่ขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว จตุภัทร์ โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ต้องหา ได้ทำผิดเงื่อนไขการประกันตัว จึงสั่งให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราว ทั้งยังเห็นว่านายประกัน ซึ่งเป็นบิดา ไม่ได้ทำการห้ามปราบการกระทำดังกล่าวแต่อย่างใด

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลได้มีคำสั่งกำชับให้นายประกัน, ผู้ต้องหาให้มาศาลตามนัด ห้ามเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ พยานหลักฐานในคดี หรือก่อความเสียหายใดๆ หลังปล่อยตัวชั่วคราว หากผิดนัด ผิดเงื่อนไข ศาลอาจถอนประกันและอาจไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอีก และภายหลังปล่อยตัวชั่วคราว ได้ความจากทางไต่สวนว่า ผู้ต้องหาไม่ได้ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีนี้ในสื่อสังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊กของผู้ต้องหา กับทั้งผู้ต้องหาได้แสดงออกถึงพฤติกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ในเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐ โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ทั้งผู้ต้องหายังมีแนวโน้มจะกระทำการในลักษณะเช่นนี้ต่อไปอีก ผู้ต้องหาเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มีอายุ 25 ปี ย่อมรู้ดีว่า การกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวข้างต้นเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาล จึงฟังได้ความตามคำร้องว่า ผู้ต้องหาได้กระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายภายหลังการปล่อยตัวชั่วคราว ประกอบกับนายประกันผู้ต้องหาไม่ได้กำชับหรือดูแลให้ผู้ต้องหาปฏิบัติตามเงื่อนไขศาลที่มีคำสั่ง จนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าว จึงให้เพิกถอนสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา หมายขังผู้ต้องหา ตรวจคืนหลักประกันให้นายประกัน

ต่อมาวันที่ 10 ก.พ. 2560 ศาลได้รับฟ้องคดีดังกล่าว พร้อมไต่สวนคำให้การของจตุภัทร์ โดยเขาให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และพร้อมที่จะสู้คดี โดยในวันนั้นศาลได้ใช้อำนาจสั่งขังเขาต่อไประหว่างการพิจารณาคดี และได้นัดตรวจพยานหลักฐานอีกครั้งในวันที่ 21 มี.ค. 2560 ทั้งนี้อัยการโจทก์ได้ระบุในคำฟ้องด้วยว่า

"อนึ่ง หากจำเลยขอปล่อยตัวชั่วคราว โจทก์ขอคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เป็นการกระทำต่อพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งและเทิดทูนของประชาชน และเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี"

ทั้งนี้จตุภัทร์ ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ทัณฑสถานบำบัด จังหวัดขอนแก่น มาตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. 2559 โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2560 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราว ‘ไผ่’ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา  หลังจากเมื่อวันที่ 3 เม.ย. ที่ผ่านมา ทนายความเข้ายื่นอุทธรณ์ เพื่อคัดค้านคำสั่งศาลจังหวัดขอนแก่นลงวันที่ 21 มี.ค. 60 ที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัวจตุภัทร์

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้รายงานว่า ในคดีนี้ อัยการจังหวัดขอนแก่นเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจตุภัทร์ต่อศาลจังหวัดขอนแก่น เป็นคดีหมายเลขดำที่ 301/2560 ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 และ 14 (3) โดยจตุภัทร์ให้การปฏิเสธ และศาลนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 3-4, 15-17 ส.ค. 60 สืบพยานจำเลยในวันที่ 30-31 ส.ค. และ 5-7 ก.ย. 60 ในชั้นสอบสวน จตุภัทร์เคยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นเวลา 18 วัน แต่ถูกถอนประกันจากการที่ยังโพสต์แสดงความเห็นในโซเชียลมีเดีย หลังถูกถอนประกัน ทนายความได้ยื่นประกันจตุภัทร์ รวม 8 ครั้ง และอุทธรณ์รวม 2 ครั้ง แต่ไม่เคยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวอีกเลย


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทูตไทยที่โซลส่งจดหมายชี้แจงกรณี 'ไผ่ ดาวดิน'รับรางวัลสิทธิมนุษยชนกวางจู

0
0

เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโซลส่งจดหมายถึงมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึกของเกาหลีใต้ ที่จะมอบรางวัลให้ 'ไผ่ ดาวดิน'โดยชี้แจงว่าไผ่ ดาวดิน ทำผิดกฎหมายไทยคือ ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และผิดเงื่อนไขการประกันตัว ย้ำประเทศไทยให้คุณค่าต่อเสรีภาพแต่ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตกฎหมาย เพื่อความสงบเรียบร้อยและความกลมเกลียวของสังคม

ศรัณย์ เจริญสุวรรณ เอกอัครราชทูตประจำกรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี (ซ้าย) หนังสือของทูตไทยประจำกรุงโซล ชี้แจงมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึกของเกาหลีใต้ (ขวา)

9 พ.ค. 2560 มีรายงานว่า ศรัณย์ เจริญสุวรรณ อดีตอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตของสถานเอกอัครราชทูตไทย ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ตั้งแต่ต้นปี 2559 ได้ส่งจดหมายลงวันที่ 2 พฤษภาคม แสดงความกังวลที่มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึกของเกาหลีใต้จะมอบรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนให้กับ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน ซึ่งปัจจุบันถูกคุมขังระหว่างรอดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยรายละเอียดของจดหมายมีดังนี้

เรียน คุณชามุงซ็อก

ผมได้ทราบว่ามูลนิธิ 18 พฤษภารำลึกตัดสินใจที่จะมอบรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี 2017 ให้กับนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา

ผมขอถือโอกาสนี้ชี้ให้เห็นว่า นายจตุภัทร์ได้กระทำผิดกฎหมายของราชอาณาจักรไทย ปัจจุบันเขาถูกควบคุมตัวในข้อหากระทำผิดมาตรา 112 (หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) ในประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ นายจตุภัทร์ได้รับการประกันตัวตั้งแต่ต้นในช่วงที่เขาถูกจับ อย่างไรก็ตามมีการยกเลิกการประกันตัวเนื่องจากเขากระทำผิดซ้ำ ซึ่งผิดเงื่อนไขการประกันตัว คดีของเขาได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรมภายใต้ศาลยุติธรรม

ผมขอเน้นว่าประเทศไทยสนับสนุนและให้คุณค่าอย่างยิ่งต่อเรื่องเสรีภาพการแสดงออก การสมาคมและการรวมตัว และเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามสิทธิเหล่านี้ไม่ได้สมบูรณ์แบบ และจำต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความกลมเกลียวของสังคม

ด้วยความจริงใจ

ศรัณย์ เจริญสุวรรณ
เอกอัครราชทูต

อนึ่ง มีรายงานว่า จตุภัทร์ ได้รับเชิญให้ไปรับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน (Gwang Ju Prize for Human Rights) ประจำปี 2017 จากมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) สาธารณรัฐเกาหลี โดยเมื่อวันที่ 29 เมษายน ผอ.มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก ส่งจดหมายถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโซล ขอให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้จตุภัทร์ได้รับการประกันตัวและให้เดินทางไปยังเกาหลีใต้เพื่อรับรางวัล

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม มีการยื่นขอประกันตัวจตุภัทร์เป็นครั้งที่ 9 เพื่อให้สามารถเดินทางไปรับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน แต่ศาลขอนแก่นไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว โดยระบุว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่ง (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตอบ 'ดอน ปรมัตถ์วินัย': ทำไมรางวัลกวางจูจึงสำคัญ?

0
0

หาคำตอบให้ดอน ปรมัตถ์วินัย เพราะเหตุใดเหตุการณ์ที่กวางจูในปี 1980 และการมอบรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เผยประวัติศาสตร์ฉบับสังเขป เมื่อผู้นำรัฐประหาร และสั่งยิงนักศึกษา-ประชาชน ไม่พ้นผิด-ไม่ลอยนอล

ดูจะเป็นเรื่องที่แปลกพอสมควร เมื่อคนระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ อย่างดอน ปรมัตถ์วินัย ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต และตำแหน่งสำคัญต่างๆ ทางการทูตหลายตำแหน่ง ได้ออกมาตั้งคำถามถึงกรณีที่ มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) ซึ่งได้มีการมอบรางวัลสิทธิมนุษยชนแห่งกวางจู (Gwangju Prize for Human Rights) ประจำปี 2017 ให้กับจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน นักศึกษานักกิจกรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ซึ่งถูกจับกุมคุมขัง และถูกเพิกถอนสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราว ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และฝ่าฝืน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จากเว็บไซต์ BBC Thai ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ทั้งนี้ไผ่ ถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2559 โดยที่คดีความยังไม่ได้ตัดสิน และไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว

โดยคำถามสำคัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยการปกครองของรัฐบาลคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อหลายสำนักเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2560 วันเดียวหลังจากที่ครอบครัว และทนายความของไผ่ ได้ยื่นขอประกันตัวเป็นครั้งที่ 9 เพื่อที่จะขอโอกาสให้ไผ่ ได้เดินทางไปรับรางวัลสิทธิมนุษยชนดังกล่าวด้วยตัวเอง แต่ศาลยังคงมีความเห็นไม่อนุญาตให้ประกัน เนื่องจากยังไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

ดอน กล่าวถึงกรณีที่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว และการได้รับรางวัลสิทธิมนุษยชนของไผ่ว่า คงต้องมีการตรวจสอบก่อนว่า องค์กรดังกล่าวเป็นองค์กรเกี่ยวกับอะไร และวัตถุประสงค์ของการมอบรางวัลคืออะไร และมีความเกี่ยวข้องอย่างไร กับไผ่ ดาวดิน ขณะเดียวกันก็ยังระบุด้วยว่าองค์กรที่มองรางวัลเป็นเครือข่ายเดียวกันกับกลุ่มของไผ่ ดาวดิน หรือไม่ เพราะเท่าที่เห็นจากข่าว ก็พอจะประเมินได้ว่าเป็นผู้ที่ทำกิจกรรมลักษณะคล้ายกัน

ที่มาของภาพ: แฟ้มภาพกระทรวงต่างประเทศ

จากคำให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ชวนให้สงสัยอยู่ไม่น้อยว่าเกิดอะไรขึ้นที่เมืองกวางจู 37 ปีก่อน และเรื่องราวหลังจากนั้นส่งผลสืบเนื่องอย่างไร เพราะอะไรผู้ที่พอรู้ประวัติศาสตร์จึงเรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่าเป็น เหตุการณ์สำคัญในการสร้างประชาธิปไตยของสาธารณรัฐเกาหลี ประชาไทชวนอ่านประวัติศาสตร์ฉบับสังเขป เพื่อความเข้าใจการลุกฮือต่อต้านเผด็จการในฤดูใบไม้ผลิเมื่อปี 1980 ซึ่งอาจมีลักษณะคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย อาจจะแตกต่างกันก็เพียงแค่ สาธารณรัฐเกาหลี สามารถนำคณะรัฐประหารมาลงโทษได้ แม้เวลาจะผ่านไปนานเกือบ 20 ปี ในขณะที่เรื่องเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย พร้อมทั้งหาคำตอบว่าการให้รางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนกับไผ่ ดาวดิน แสดงออกถึงอะไร

00000

มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก ก่อตั้งจากเลือด บาดแผล และความทรงจำที่จะไม่มีวันซ้ำรอยเดิม

พูดอย่างไม่เกินเลยไปนัก มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) คือองค์กรที่เกิดมาจากจิตวิญญาณของการลุกฮือขึ้นต่อต้านกับระบอบเผด็จการอำนาจนิยมของผู้ชุมนุมประท้วงในเมืองกวางจู สาธารณรัฐเกาหลีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 1980 (พ.ศ.2523) ซึ่งมีการกล่าวถึงกันว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นโศกนาฏกรรม และความน่าอับอายที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของสาธารณรัฐเกาหลี เพราะมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวเกือบ 200 คน (จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันตัวเลขที่ชัดเจน) และมีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 3,000 คน นั้นย่อมแสดงให้เห็นว่านี่คือ ประวัติศาสตร์บาดแผล และเจ็บปวดของชาวเกาหลีใต้ครั้งใหญ่ แต่ขณะเดียวกันมันก็เป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างประชาธิปไตยของประเทศ และมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึกเองก็เป็นหนึ่งในขบวนเคลื่อนไหวดังกล่าว และทำให้เรื่องราวความโหดร้ายของการล้อมปราบประชาชน การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรง กลายเป็นเพียงแค่ความทรงจำ ที่มีค่าเพียงพอที่จะได้ตระหนักถึงเพื่อเป็นหลักยันให้กับอนาคตว่าเรื่องราวเหล่านี้จะไม่กลับมาเกิดขึ้นอีก

จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ ‘การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่กวางจู’ (Gwangju Democratic Uprising) เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรวมตัวกับของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในสมัยการปกครองของประธานาธิบดี ปาร์ก จุงฮี นายทหารที่ได้อำนาจการปกครองจากการทำรัฐประหาร และครองอำนาจเบ็ดเสร็จยาวนานถึง 18 ปี ซึ่งผู้คนในสมัยนั้นต่างเรียกภายปกครองภายใต้ปาร์ก จุงฮี ว่าระบอบยูชิน ซึ่งปฏิเสธสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และมีการวางรากฐานอำนาจที่มั่นคงไว้รัฐธรรมนูญยูชิน ค.ศ.1972  นอกจากนี้ยังไม่การอ้างสถานการณ์ทางการเมืองภายนอกประเทศเพื่อลดทอนเสรีภาพในด้านต่างๆ

ทั้งยังมีการใช้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อเอกภาพแห่งชาติ ปลดคิม ยองซัม สมาชิกสภานิติบัญญัติฝ่ายค้าน ทำให้นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยพูซานเริ่มต้นลุกขึ้นเรียกร้อง ในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1979 ก่อนที่สถานการณ์อันเป็นผลจาการตอบโต้ของรัฐบาลจะทำเกิดการลึกฮือขึ้นในเมืองมาซาน แต่การลุกฮือของประชาชนและนักศึกษาของทั้งสองเมืองก็กินระยะเวลาได้ไม่นาน เนื่องจากรัฐบาลได้จับกุมผู้ต่อต้านทั้งหมด 1,563 คน

สิ่งที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งผลสืบเนื่องมายังเหตุการณ์ที่กวางจูในในอีก 7-8 เดือนถัดมาคือ ความตายของปาร์ค จุงฮี จากการถูกลอบสังหารระหว่างทานอาหารค่ำในบริเวณทำเนียบประธานาธิบดี (Blue House) ในกรุงโซล อย่างไรก็ตามแม้ว่าการเสียชีวิตของประธานาธิบดีในระบอบเผด็จการจะค่อยๆ ทำให้ระบอบยูชินที่ยาวนานถึง 18 ปีล่มสลายลง แต่บรรดานายทหารที่ฝักใฝ่การเมืองซึ่งช่วยสร้างระบบยูชินก็ยังคงมีอานาจอยู่ต่อไปเพื่อรักษาระบอบ และรักษาอานาจของพวกเขาภายหลังจากความตายของปาร์ค จุงฮี

หลังจากการเสียชีวิตของปาร์ค จุงฮี นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นคือ ชเว คยู ฮา ได้เข้ารับตำแหน่งรักษาการตำแหน่งประธานาธิบดี และได้ประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศ ในเวลานั้น นายพลชอง ซึง ฮวาผู้บัญชาการกองกาลังรักษาความมั่นคง (Defense Security Force )ได้ตั้งศูนย์สืบสวนร่วมเพื่อสืบสวนคดีการสังหารประธานาธิบดี โดยมีชอน ดู ฮวานเป็นผู้บัญชาการกองกาลังรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Force)

ต่อมาในวันที่ 12 ธ.ค. ค.ศ. 1979 ชอน ดู ฮวาน ได้ทำการรัฐประหาร ชเว คยู ฮา โดยคณะรัฐประหารได้ล้างอำนาจการบริหารในสมัยของ ชเว คยู ฮา พร้อมทั้งขยายอำนาจผ่านกฎอัยการศึก และถ่วงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็เริ่มจัดตั้งปฏิบัติการเค (K-Operation ย่อมาจาก King-Operation) เพื่อเข้าควบคุมสื่อมวลชน เพื่อทำให้ประชาชนรู้สึกถึงความจำเป็นที่กองทัพจะต้องเข้ามาวบคุมอำนาจ

มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปปรับทัศนคติกับหนังสือพิมพ์รายวันกว่า 94 ฉบับ ให้เสนอข่าวในทางเดียวกันว่ารัฐบาลของประธานาธิบดีชอน ดู ฮวาน และผู้นำกองทัพชุดใหม่จะเป็นความหวังเดียวที่จะจัดการกับความวุ่นวายไร้ระเบียบที่กาลังแผ่ซ่านทั้งประเทศ ขณะเดียวกันก็มีการฝึกพิเศษกับทหารรอบหัวเมืองใหญ่ เพื่อที่จะเตรียมพร้อมกับการจัดการการลุกฮือของประชาชน โดยมียุทธวิธีในการหลักคือสลายฝูงชนโดยการเข้าโจมตี และตีฝูงชนให้แตกกระจายเป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อไม่ให้สามารถรวมตัวกันได้อีก และมุ่งจับกุมตัวผู้นาการชุมนุม ทหารจะถูกฝึกให้เล็งที่ข้อต่อคอและศีรษะและตีไม่ยั้งทั้งชายและหญิง จากนั้นจะถูกถอดเสื้อผ้าแล้วลากหรือโยนขึ้นรถบรรทุกที่จอดรออยู่เพื่อพาตัวไปคุมขังยังเรือนจำทหารซึ่งมีการใช้อำนาจในการข่มเหงในขั้นต่อไป

และหลังจากการยึดอำนาจได้ไม่นานขบวนการนักศึกษาก็เริ่มเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยอีกครั้งก่อนจะนำไปสู่ความสูญเสียครั้งใหญ่ที่กระทำโดยน้ำมือของผู้ที่อยู่ร่วมชาติเดียวกัน

ภาพประชาสัมพันธ์กิจกรรม มองรางวัล 2017 Gwangju Prize for Human Rights จากว็บไซต์ The May 18 Memorial Foundation

เหตุการณ์กวางจู ประวัติศาสตร์ของการเอาผิด-รับโทษ

ในขณะที่การต่อต้านรัฐบาลของชอน ดู ฮวาน ก่อตัวขึ้นในหลายจังหวัด แต่มีเพียงเมืองเดียวที่นักศึกษา และประชาชนรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหารได้อย่างเข้มแข็ง ท่ามกลางความตึงเครียดในสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงเวลานั้น มีข่าวลือว่าขบวนการนักศึกษาจะลุกฮือขึ้นในเดือนพฤษภาคม รัฐบาลกลับเมินเฉยต่อข้อเสนอของฝ่ายประชาธิปไตยที่ต้องการให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึก ทั้งยังได้ออกคำสั่งให้หน่วยปฏิบัติการสลายการชุมนุมเข้าประจำการตามเมืองใหญ่ ขณะที่ฝ่ายนักศึกษาเองก็เตรียมพร้อมที่จะจัดการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย

วันที่ 14 พฤษภาคม 1980 มีนักศึกษากว่า 70,000 คน ออกมาบนท้องถนและไปรวมตัวกันที่ จตุรัสควางฮวามุน ในวันต่อมานักศึกษาออกมาร่วมตัวกันอีก เพิ่มจำนวนเป็นแสนคน ในที่ในวันที่ 16 พฤษภาคม นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชอนนัมและมหาวิทยาลัยโชซอน กับวิทยาลัยการศึกษาในกวางจูจัดการชุมนุมที่หน้าศาลาว่าการเมืองกวางจู ตามมาด้วยการเดินขบวนถือคบไฟอย่างสันติ

แต่ถัดมาในวันที่ 17 พฤษภาคม ชอน ดู ฮวาน ได้ขยายการประกาศใช้กฎอัยการศึก และส่งทหารกว่าแสนนายเข้าปิดล้อมเมืองกวางจูในวันที่ 18 พฤษภาคม และตั้งแต่ช่วงเช้าของวันนั้นการล้อมปราบ และการปะทะก็เริ่มต้นขึ้น จนกระทั้งทั้งสองฝ่ายเริ่มยิงต่อสู้กันในวันที่ 20 พฤษภาคม เนื่องจากสถานการณ์ที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ แต่รัฐบาลกลับนิ่งเฉย ในขณะที่สื่อมวลชนก็ไม่นำเสนอข่าวสารที่ตรงไปตรงมาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองกวางจู ในช่วงบ่ายของวันที่ 19 ผู้ชุมนุมจึงปรับเปลี่ยนยุทธวิธีจากการเป็นฝ่ายรับป้องกันตัวเอง มาเป็นฝ่ายโจมตี เนื่องจากถูกกระตุ้นโดยความโหดร้ายของทหารที่ปฏิบัติต่อประชาชน แต่เป็นฝ่ายทหารที่สามารถเข้ายึดเมืองกวางจูได้ในวันที่ 27 พฤษภาคม โดยการใช้เวลาเพียง 90 นาที เนื่องจาก จอห์น เอ. วิคแฮม จูเนียร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการร่วมสหรัฐ-เกาหลีใต้ ให้ความเห็นชอบต่อประธานาธิบดีชอน เคลื่อนกำลังทหารเกาหลีจำนวนมากจากเขตปลอดทหารตามแนวชายแดนเกาหลีเหนือ-ใต้ มาใช้ในปฏิบัติการยึดคืนเมืองกวางจู

เรื่องราวที่กวางจูจบลง ผู้นำการชุมนุมอย่าง คิม แทจุง ถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดี ถูกตัดสินว่าผิดจริงและพิพากษาให้ประหารชีวิต แต่ลดโทษลงเหลือจำคุกตลอดชีวิตหลังการกดดันของนานาชาติ ในจำนวนผู้ที่ถูกจับกุมที่กวางจู มี 427 คนถูกพิพากษาว่ากระทำผิด 7 คนถูกตัดสินประหาร 12 คนถูกจำคุกตลอดชีวิต ที่เหลือได้รับโทษจำแตกต่างกันออกไป

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่กวางจูแม้จะจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายนักศึกษาประชาชน แต่มันกลับกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เหมือนคบไฟที่ถูกจุดขึ้นและไม่มีวันมอดดับ

หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นชอน ดู ฮวาน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไปอีกสองสมัย ค.ศ. 1980- 1988 ตามด้วยโรห์ แตวู อีกสองสมัย ค.ศ. 1988-1993 และในช่วงเวลาดังกล่าเหตุการณ์ที่กวางจูถูกจดจำเพียงสถานะของการก่อจลาจล อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีรัฐบาลพลเรือนซึ่งนำโดยคิม ยองซัม ได้มีการประกาศนโยบายปฏิรูปการเมือง และการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน และมีการนำคดีรัฐประหาร การยึดอำนาจการปกครอง และการสังหารหมู่นักศึกษาประชาชนที่กวางจูขึ้นสู่ศาล

โดยชอน ดู ฮวาน และโรห์ แตวู ถูกศาลตัดสินในวันที่ 26 สิงหาคม 1996 ในข้อหาคอร์รัปชันและกบฏ โดยชอน ดู ฮวาน ถูกตัดสินประหารชีวิต ส่วนโรห์ แตวู  ถูกตัดสินจำคุก 22 ปี 6 เดือน แต่ทั้งหมดได้รับการอภัยโทษในปี 1997 โดยประธานาธิบดีคิม ยังซัม จากคำแนะนำของคิม แดจุง ประธานาธิบดีคนถัดมาเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความปรองดอง และเหตุการณ์ในเดือนพฤษภาคม 1980 ก็ถูกจดจำใหม่ในสถานนะของ ‘การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่กวางจู’

จากนั้นในปี 1998 จึงได้มีการก่อตั้งมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึกขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญานการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และเป็นการบอกเตือนคุณรุ่นใหม่ให้รู้ถึงความเลวร้ายของการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐบาลทหาร นอกจากนี้มูลนิธิดังกล่าวยังทำหน้าที่เชิงรุกในการเผยแพร่ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย  มีการจัดทำแบบเรียนประวัติศาสตร์ มีหอจดหมายเหตุ และมีการจะหลักสูตรอบรมเพื่อนักวิชาการ นักวิจัยจากต่างประเทศ ทั้งยังมีการนำนักกิจกรรมทางสังคม และภาคประชาสังคมจากหลายประเทศมาเรียนรู้

ตลอดจนการมอบรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 และได้มอบรางวัลให้แก่บุคคลสำคัญของโลกที่มีบทบาทในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน อาทิ นางอองซาน ซูจี ประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของพม่า ชานานา กัสเมา อดีตประธานาธิบดีของติมอร์ตะวันออก ซึ่งในปีนี้บุคคลที่ได้รับรางวัลดังกล่าวคือ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดตั้งแต่มีการประกาศมอบรางวัลมา

ไผ่ คือสัญลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ในเอเชียที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย

พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายเอเชียตะวันออกของ The Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA) ได้ให้สัมภาษณ์กับประชาไทว่า ความสำคัญของรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนที่จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน ได้รับนั้นเป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรำลึกถึงการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยของชาวเมืองกวางจูในเดือนพฤษภาคม 1980 ซึ่งการต่อสู้นี้ แม้ว่าชาวเมืองจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ถูกสังหารนับพัน และถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ต่อมาอีกหลายสิบปี แต่การต่อสู้ของชาวเมืองกวางจูกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ขบวนการแรงงาน ชาวนา นักศึกษา และคนเกาหลีใต้เรือนล้านออกมาต่อสู้บนท้องถนนในปี 1987 หลังจากรัฐบาลเผด็จการได้ทรมานและสังหาร พัค ยอง-ชุล ผู้นำนักศึกษาในเดือนมกราคม 1987 จนเกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน

“ในปีนี้ ไผ่ จตุภัทร บุญภัทรรักษา ได้รับเลือกให้ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ไม่เกินเลยถ้าจะพูดว่าไผ่ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ในเอเชียที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย เหมือนที่ขบวนการนักศึกษาในเกาหลีใต้ทั้งในอดีตและปัจจุบันมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” พิมพ์สิริ กล่าว

 

เรียบเรียงจาก

The may 18 memorial foundation

http://eng.518.org/

10 วันที่กวางจู” เกิดอะไรที่เกาหลี เมื่อปี 2523

https://www.matichon.co.th/news/144818

ใหญ่แค่ไหนก็ต้องติดคุกได้

http://thaipublica.org/2014/07/never-let-the-big-ones-above-law/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิชาการเปิดเส้นทางบทบาทศิลปะต่อต้านประชาธิปไตย-รบ.ทหาร ย้ำควรแสดงออกได้เสรี

0
0

ฉายวัฒนธรรมการใช้ภาพสื่อสารต่อต้านก่อน-หลัง คสช. ยึดอำนาจ หลายฝ่ายหยิบใช้ช่วงชิงพื้นที่รับรู้ ดราม่าไกลถึงเกาหลี ใต้รัฐประหารควรแสดงออกได้ตามสิทธิปกติ พิชญ์ตั้งคำถามบทบาทศิลปะ ศิลปินในขบวนต่อต้านประชาธิปไตย เส้นทางแนวคิดศิลปะกับสังคม มองและขับเน้นประวัติศาสตร์การเมืองไทยผ่านวงการศิลปะ ถาม-ตอบ ศิลปะกับพลังแฝงตามบริบท พลังแห่งการตีความ มาตรวัดลักษณะสังคมและมุมมองต่อหมุดคณะราษฎร

ผศ.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

22 ส.ค. 2560 มีงานเสวนา รัฐศาสตร์เสวนา ชุด ไทยศึกษากับการเมืองและสังคมไทย ครั้งที่ 1 หัวข้อ ทำการต่อต้านให้ปรากฎ : ศิลปะและการเมืองของการต่อต้านหลังรัฐประหาร 2557 โดย ผศ.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ห้องมาลัย ชั้น 12 อาคารเกษม อุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ผศ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ 

ฉายวัฒนธรรมการใช้ภาพสื่อสารต่อต้านก่อน-หลัง คสช. ยึดอำนาจ หลายฝ่ายหยิบใช้ช่วงชิงพื้นที่รับรู้ ดราม่าไกลถึงเกาหลี

บัณฑิตกล่าวว่า ในกรณีของไทย ศิลปะกับการเมืองก็ถูกใช้กันอย่างต่อเนื่อง อยากยกคำพูดของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล เขียนสุนทรพจน์สำหรับการรับรางวัล “ยังมีสถานที่มากมายที่การจดจำและแบ่งปันเรื่องราวเป็นเรื่องอันตราย ผมรู้เพราะผมมาจากที่แบบนั้น คำถามคือ เราจะทำอย่างไรให้เกิดการเข้าถึงและการสื่อความหมายด้วยความเห็นอกเห็นใจ ในเมื่อแต่ละแห่งดดำเนินไปด้วยเหตุผลตรรกะที่แตกต่างกัน ผมไม่รู้คำตอบนั้น แต่ผมเชื่อว่าการส่องสว่างไปที่สิ่งๆ หนึ่งอาจจะพาเราพ้นจากความมืดมนและไปสู่ความสว่าง และแสงสว่างนั้นก็ย่อมสะท้อนกลับไปที่คูุณ เพราะสิ่งที่เราทำล้วนกระทบกับเราทั้งสิ้น” จริงๆ ก็สะท้อนเรื่องราวร่วมสมัยเรื่องการส่งต่อข้อความ การแชร์สิ่งต่างๆ ในเฟซบุ๊กเป็นเรื่องอันตรายเพราะการที่รัฐเข้าถึงพื้นที่สื่อออนไลน์ทำให้การส่งข้อความต่างๆ เป็นอันตราย

ในรอบ 10 ปีมานี้ บทบาทศิลปินกับการเมืองก็มีไม่ใช่น้อย ในช่วงค้านกฎหมายนิรโทษกรรมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะเห็นว่าการต่อต้านการนิรโทษกรรมชัดเจนมาก วสันต์เขียนรูปไปไว้ที่หน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นอกจากนั้นยังมีไปเป็นคณะ เป็นมหาวิทยาลัย ที่กำแพงมหาวิทยาลัยศิลปากรก็มีการใช้โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์แนวคิดทั้งสองฝ่ายทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง และกลุ่มที่จะไปเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. 2557

ภาพการแสดงออกของแนวคิดที่มีต่อการเลือกตั้งที่มหาวิทยาลัยศิลปากร (ภาพจากสไลด์นำเสนอ)

ในท่ามกลางความพยายามที่จะปิดคูหาเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. ก็มีหลายคนที่ใช้ความสร้างสรรค์ เช่นภาพที่คุณป้าเดินเข้าไปชูไฟฉายบริเวณมวลชน กปปส. ปิดล้อมคูหาเลือกตั้ง มันสะท้อนแทนคนที่อยากพูด อยากแสดงออกและต้องอาศัยความกล้าอย่างมาก การเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองในส่วนหนึ่งมันสร้างการต่อต้านให้ปรากฏ เพราะในเวลาวิกฤติของสังคม การพูดด้วยเหตุผลมันอาจจะไม่สื่อหรือไม่พอ แต่การพูดด้วยภาพและสัญลักษณ์มันกลับส่งความหมายได้ดีกว่า ดังนั้นการใช้วัฒนธรรมการมองเห็นมาใช้นำเสนอจึงมีนัยทางการเมืองที่สำคัญที่จะนำไปสู่การสนับสนุนการต่อต้านอย่างใดอย่างหนึ่ง

ที่ ถ.ราชดำเนิน มีภาพปูแดงที่ทักษิณขี่ ที่ก้ามคว่ำประเทศไทยกลับด้าน บัณฑิตมองว่าสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของคนที่ไปร่วมกับ กปปส. เชื่อว่าถ้ากำจัดปูตัวยักษ์ตัวนี้และคนที่ขี่จะทำให้ประเทศไทยสงบสุข (ภาพจากสไลด์นำเสนอ)

ก่อนการรัฐประหารปี 2557 มีความพยายามจะจุดเทียนหน้าหอศิลปะและวัฒนธรรมกรุงเทพฯ แล้วก็โดนปรับ 2,000 บาทเพราะมีน้ำตาเทียนหยดบนพื้นที่ของหอศิลป์ฯ นอกจากจุดเทียนแล้วยังปล่อยลูกโป่ง เป็นอีกความพยายามที่ทำให้การต่อต้านปรากฎ จนการจุดเทียนและการติดป้ายไปใช้ตามที่ต่างๆ เช่นที่อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีการจุดเทียน

การแสดงออกด้วยลูกโป่งขาวที่อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน

การสร้างการต่อต้านให้ปรากฏนั้นสำคัญเพราะมันเป็นหมุดหมายที่ทำให้คนสื่อสารได้ในเวลาอันรวดเร็วผ่านภาษาภาพ (Visual Language) มีกรณีหนึ่งหลังรัฐประหารก็มีน้องคนหนึ่งไปยืนเป่าสากที่สะพานรถไฟฟ้าบีทีเอสพร้อมแปะป้ายที่ร่างกายกล่าวถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) เนื่องจากมีกรณีการเรียกคนเข้าปรับทัศนคติ จะเห็นว่าหลังรัฐประหารก็ยังมีคนที่พยายามทำให้การต่อต้านปรากฎ ในทางกลับกัน ความพยายามของรัฐบาลที่จะส่งคนไปแทรกซึมก็สามารถเห็นได้ เช่นการปรากฎตัวของทหารในงานรำลึกครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ 6 ต.ค. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กิจกรรมยืนเป่าสาก (ภาพจากสไลด์นำเสนอ)

ความเป็นไทยร่วมสมัยก็ชวนให้เราตีความความเป็นไทย หลังการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่สี่แยกราชประสงค์ หอศิลป์ กทม. กระทรวงวัฒนธรรม และรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมจัดงาน Imagine Peace ฝันถึงสันติภาพ และจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมอื่นเช่น มีกิจกรรม Big Cleaning Day ที่สี่แยกราชประสงค์และวัดปทุมวนาราม สิ่งเหล่านี้ก็เป็นความพยายามใช้ศิลปะเป็นเครื่องเปลี่ยนมุมมองของสังคมที่มีต่อเรื่องใดๆ ก็มีมาอย่างต่อเนื่อง ทีนี้ถามว่าศิลปินที่เคยวิจารณ์สังคมอย่างวสันต์ เริ่มออกมาพูดอะไรหรือไม่ จนในที่สุดก็ออกมาทำงานชิ้นหนึ่ง แต่ไม่ใช่งานที่แสดงออกมาสาธารณะ แต่อัพเอาไว้ในเฟซบุ๊ก วสันต์ ระเบิดข้อความว่า “รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชาครองอำนาจมากว่า 3 ปีแล้ว ขอรวบรวมไว้ในโพสท์นี้ บอกเลยว่าทักษิณยังอาย” “เปรตบ้าทำรัฐประหารเพื่อตัวเองและทุนชั่วช้าสามานย์” และก็มีอีกรูปที่มีคำอธิบายว่า "เปรตบ้าเรือดำน้ำ อยากร่ำรวยจากการกินหัวคิว"

การเปลี่ยนท่าทีของวสันต์สำหรับผมไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่จากคนที่พยายามให้เกิดการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง แต่ตอนนี้ก็เริ่มออกมาพูดแล้ว ก็คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากว่านี้ มันชวนให้เราคิดว่า การนำเสนอการต่อต้านการรัฐประหารไม่ได้มาจากรูปแบบงานศิลปะจากมุมเดียวอีกต่อไป คนที่เคยสนับสนุนก็ไม่ได้มีท่าทีเหมือนเดิม

ช่วงหลังรัฐประหารมีกรณีการนำงานศิลปะที่ใช้ในการชุมนุม กปปส. ไปแสดงที่หอศิลป์เมืองกวางจู เมืองกวางจูเป็นเมืองที่คนลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลทหารที่เกาหลีใต้เมื่อทศวรรษที่ 1980 คนกวางจูถูกสังหาร ถูกทำร้าย คนตายนับร้อย คนกวางจูถูกประณามว่าเป็นพวกแดงในความหมายคอมมิวนิสต์สมัยนั้น ในที่สุดกวางจูก็สามารถเรียกร้องและเรียกคืนความยุติธรรมได้ และต่อมาก็มีการตั้งหอจดหมายเหตุ การรำลึกเมืองกวางจู เปิดงานแสดงศิลปะปีละ 2 ครั้งและมีหอศิลป์ที่นำศิลปินชั้นนำของโลกมาแสดงเพื่อยกย่องสปิริตการต่อสู้ เลยเป็นคำถามว่า กวางจูเลือกผิดงานหรือเปล่าเพราะนี่เป็นงานต่อต้านประชาธิปไตยจนเป็นการถกเถียงใหญ่ เสียงสนับสนุนก็บอกว่า งานชิ้นนี้กระทำในช่วง กปปส. แต่ไม่ใช่งานที่ต่อต้านประชาธิปไตย แล้วถ้าคิดว่า กปปส. คือความพยายามหนึ่งที่จะปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง แล้วมันแยกความรับผิดชอบต่อสังคมออกจากกันได้หรือไม่ เป็นคำถามที่ตอบไม่ง่าย แต่ในพื้นที่ของกวางจูก็เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าสาธารณชนก็ต้องตอบ และคนที่กวางจูก็ต้องตอบว่าการเอางานที่สร้างสรรค์ในช่วง กปปส. มาแสดงในที่ๆ แสดงสปิริตต่อสู้กับรัฐบาลทหารอย่างกวางจูหรือไม่ จนเป็นการถกเถียงครั้งใหญ่ถึงขั้นที่กวางจูต้องจัดพื้นที่เสวนาสาธารณะให้แลกเปลี่ยนความเห็นกัน และสุดท้ายงานนี้ก็ไม่เคยถูกถอด

ศิลปินนิรนามกลุ่ม Guerrilla Boys โพสต์ภาพอยู่เบื้องหน้าผลงาน "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน"ผลงานศิลปะของสุธี คุณาวิชยานนท์ เมื่อ 25 พฤษภาคม 2559 โดยศิลปินนิรนามผู้สวมหน้ากากกอริลลายังถือกระดาษเขียนข้อความว่า "This work still waiting 'Junta' create democracy for them!!!"หรือ "ผลงานนี้ยังคงรอ 'รัฐบาลทหาร'เนรมิตประชาธิปไตยให้พวกเขา"และลงชื่อ Guerrilllaboys ท้ายข้อความ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

นอกจากนั้นยังมีงานของ ตะวัน วัตุยา และกฤษดา ดุษดีวณิชย์ เป็นงานที่เหมือนภาพฟรานซิสโก โกยา ว่าด้วยการสังหารหมู่ แต่ตะวันพูดถึงนักโทษการเมือง ตอนนั้น ไผ่ จตุภัทร (จตุภัทร บุญภัทรรักษา'หรือ 'ไผ่ ดาวดิน') ถูกจับขังคุกแล้ว ในงานก็จะมีภาพเขียนที่เขียนโดยลูกเกด ชลธิชา แจ้งเร็ว นักกิจกรรมที่เคยถูกขังคุก ก็มาร่วมเขียนงาน condemned to be free (ถูกประณามเพื่อให้มีเสรีภาพ)

ภาพงาน Condemned to be Free (ภาพจากสไลด์นำเสนอ)

แล้วก็มีอีกภาพ แสดงเหตุการณ์ทางการเมืองในหลายปีที่ผ่านมา มีพรรคศิลปินของคุณวสันต์ มีการเคลื่อนไหวของ กปปส. มีศิลปินที่ห้อยนกหวีด และรายละเอียดอีกเยอะ แต่ที่น่าสังเกตคือมีมือที่ชูนิ้วกลางใส่ทุกคนในภาพ ที่ข้อมือประดับด้วยธงชาติไทย ภาพนิ้วกลางมาจากงานของอ้ายเหว่ยเหว่ย (ศิลปินและนักกิจกรรมผู้เป็นไม้เบื่อไม้เมากับทางการจีน) ที่ชื่อ Never Sorry ที่ไปตามที่ต่างๆ แล้วชูนิ้วกลาง

ใต้รัฐประหารควรแสดงออกได้ตามสิทธิปกติ พิชญ์ตั้งคำถามบทบาทศิลปะ ศิลปินในขบวนต่อต้านประชาธิปไตย

บัณฑิตกล่าวว่า ในรอบหลายปีที่ผ่านมาสังคมไทยยังอยู่ในภาวะวิกฤติที่เราพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ในมุมมองการเมืองเรื่องสื่อภาพ มันมีภาพของการต่อต้านปรากฏมากขึ้น ทั้งในแบบทื่อๆ และแยบยล ในฝั่งผู้ที่เคลื่อนไหวทางการเมืองก็มีสีสันไม่น้อยไปกว่าฝั่งของศิลปินเช่นการรำลึกเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนในปี 2553 ที่วัดปทุมวนารามที่แต่งตัวเหมือนผีไปเดินหาอะไรบางอย่าง ในวงการศิลปะก็คุยกันว่ามันสร้างสรรค์กว่างานศิลปะที่ผลิตโดยศิลปินจริงๆ เสียอีก

ภาพและวิดีโอกิจกรรมของญาติผู้เสียชีวิตในการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 

ภายใต้เงื่อนไขของรัฐขณะนี้ การเคลื่อนไหวการเมืองจำกัดแต่ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ แล้วทหารก็ไม่รู้อะไรก็ไปตั้งข้อหาเขา อย่างเช่นกรณีที่มีการดำเนินคดีกับนักวิชาการในงานไทยศึกษาที่ จ.เชียงใหม่ ผมเองก็อยู่งานกับอาจารย์พิชญ์ อาจารย์ปิ่นแก้ว แต่กลับไปตั้งข้อหากับ อ.ชยันต์ วรรธนะภูติ ธีรมล บัวงาม ภัควดี วีระภาสพงษ์ ชัยพงษ์ สำเนียง นลธวัช มะชัย ซึ่งคนเหล่านี้เป็นนักวิชาการจริงๆ เพียงแต่ว่าเขาคับข้องใจกับการปรากฏตัวของทหารที่เข้ามาแบบไม่จ่ายสตางค์ค่าลงทะเบียน แต่มาเดิน มากินกาแฟ มาขอฟังล่ามแปลภาษา ซึ่งค่าจ้างล่ามวันหนึ่งเป็นหมื่นบาท แล้วพี่เล่นส่งคนที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษมา มันก็ทำให้ทำให้บรรยากาศแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการในระดับนานาชาติไม่ค่อยรื่นหูรื่นตาเท่าไหร่ คนก็เลยออกมาเขียนป้ายว่าเวทีวิชาการ ไม่ใช่ ค่ายทหารเท่านั้นเอง ไม่ใช่การชุมนุมทางการเมือง แล้วเอาเข้าจริง จะเป็นอะไรไปถ้าเป็นการเมือง ผมคิดว่าเราควรจะมีสิทธิ์พูด มีสิทธิ์บ่น ผมไม่คิดว่าจะเป็นปัญหา ตราบเท่าที่ผมไม่จับปืนขึ้นมาสู้กับใคร ไม่จับไม้ขึ้นมาตีกบาลใคร มันเป็นสิทธิ์ที่มนุษย์ปกติคนหนึ่งในสังคมปกติมี ยกเว้นว่าสังคมนั้นไม่ปกติ แน่นอน นี่คือสิ่งที่เราอยู่ร่วมกันในสังคมแบบนี้ เราจะเห็นมากขึ้นและขอทิ้งประเด็นทางทฤษฎี การเคลื่อนไหว การใช้ภาษาผ่านการมองเห็นมันง่ายกว่าการใช้ตัวอักษร เพราะถ้ามานั่งอธิบายก็จะยาวมาก แต่ถ้าใช้แบบผ่านการมองมันย่นย่อข้อถกเถียงและมีพลัง แต่มันก็อาจจะไร้พลังก็ได้ มันมีขีดจำกัดบางประการเหมือนกัน ในกลุ่มของวัฒนธรรมการมองเห็นมีการตั้งคำถามในประเด็นการเมืองชัดเจนมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

พิชญ์ เสนอแนะว่าสิ่งที่อยากให้เพิ่มในเปเปอร์หน้าคือ การสร้างต่อต้านให้ปรากฏทำงานอย่างไรในภาพรวมของขบวนการต่อต้านประชาธิปไตย หน้าที่ของของกลุ่มศิลปินในขบวนการใหญ่คืออะไร ไม่ได้รู้สึกว่ามันทำแค่ทำการต่อต้านให้ปรากฏ แต่มันทำหน้าที่สร้างรสนิยมกับชุมชนนั้น ทำให้เหนือกว่าพวกเสื้อแดง พวกไพร่ ทำให้ฉันรู้สึกว่ามีรสนิยม เป็นการใช้สถานะการยอมรับทางสังคมมาใช้ในพื้นที่การเมือง มันมีหน้าที่ที่ทำงานกว่าการสอดประสานกัน เพราะสุดท้ายก็ต้องกลับไปอยู่ที่เดิมคือทุกคนผลิตงานศิลปะได้ แต่เขาไม่ใช่ศิลปิน การเมืองของการต่อต้านการเมืองก็น่าสนใจ ตรรกะของศิลปินหรือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่บอกว่า “ถ้าไม่แย่จริงๆก็คงไม่ออกมาหรอก” เป็นหลักการเดียวกับทหารที่ทำรัฐประหารเลย

อาจารย์จาก จุฬาฯ เจ้าของเปเปอร์กล่าวว่า สิ่งที่ตนสนใจคือการฝึกการรับรู้วัฒนธรรมการมองเห็น นึกถึงทั้งสังคมที่ถูกกำกับ มีบทที่ต้องแสดง ต้องเล่น ต้องนึกถึงสังคมทั้งสังคมในฐานะโรงละครและเราคือผู้เล่นที่ถูกมือที่มองไม่เห็นกำกับ ถูกกระแสวัฒนธรรม สังคมเกาะเกลาอยู่ การทำการต่อต้านให้ปรากฎก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของสังคม แต่การทำความเข้าใจปรากฎการณ์ดังกล่าวจะทำให้เข้าใจว่ามนุษย์ไม่หยุดนิ่ง และตัวกรองไม่ได้มีตัวเดียว มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พรมแดนสังคมจะเปลี่ยน สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นในพื้นที่ของนิยาย กวีนิพนธ์ ศิลปะ ถ้าจับตัวนี้ได้ก็จะรู้ว่าสังคมจะเคลื่อนไปทางไหน วัฒนธรรมการมองเห็นสำคัญเพราะมันเป็นพื้นที่ที่ข่าวสารถูกตีความได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นมันมีความแยบยลบางอย่างที่เทคนิคของฺศิลปินทำให้เราใช้จินตนาการและความคิดเพื่อคิดต่อได้ แต่มนุษย์จะธำรงไว้ซึ่งความสามารถในการคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมการมองเห็นได้มากน้อยเพียงใด

เส้นทางแนวคิดศิลปะกับสังคม มองและขับเน้นประวัติศาสตร์การเมืองไทยผ่านวงการศิลปะ

บัณฑิตตั้งคำถามว่า เวลาศิลปินเข้าไปสู่ปริมณฑลสาธารณะ ศิลปินมีความรับผิดชอบอย่างไรและต้องทำอย่างไรบ้าง วสันต์ สิทธิเขตต์ ศิลปินชาวไทยเคยพูดถึงบทบาทนักการเมือง และหน้าที่ของศิลปินในการสร้างเสริมประชาธิปไตย เคยนำเสนอว่านักการเมืองควรรับโทษในนรกอย่างไร วสันต์นำเสนอภาพนักการเมืองรับโทษในนรกที่ถูกเฉือนเนื้อตัวเองเป็นริ้วๆ แล้วก็กินเนื้อตัวเองเรื่อยๆ จนกว่าจะสิ้นกรรม หรือการสร้างงานชื่อ Truth is Elsewhere ด้วยการทำตัวหนังตะลุง 50 ตัว ตั้งชื่อตามนักการเมืองไทยที่มีชื่อเสียงที่เขาเชื่อว่าทำให้การเมืองเสื่อมทราม และนำมาแสดงเป็นหนังตะลุง วสันต์พากย์หนังตะลุงว่า “ควรจะตายดีกว่าไร้ประชาธิปไตย เหตุไฉนเราจึงมีชีวิตอยู่เมื่อเราไร้ซึ่งเสรี” ปี 2544 วสันต์ตั้งพรรคเพื่อกู เป็นพรรคศิลปินที่ต่อต้านทุนนิยม แต่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนักการเมือง ในปี 2548 ก็ตั้งพรรคการเมืองจริงๆ ชื่อพรรคศิลปิน โดยมุ่งกระจายอำนาจ กวาดล้างอิทธิพลมืดมาเฟีย ยึดทรัพย์นักการเมืองโจร และยึดหลักปกครองตนเอง

วสันต์มีความตื่นตัวทางการเมืองและต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมอเมริกัน บทกวีชิ้นหนึ่งเขาเขียนว่า “ไม่มีรัฐซะดีกว่า ถ้าชอบทำแต่ความจัญไร จะมีรัฐไปทำไมถ้าเอาใจแต่นายทุน ไม่มีกองทัพเสียจะดีกว่าถ้ารังแกประชาชน ชอบเข่นฆ่าคนยากจน ต้องจับขุนพลมาลงทันฑ์ ไม่มีศาลเสียดีกว่า ถ้าไม่มีความยุติธรรม เงินและปืนคอยชี้นำ เมืองต้องมืดดำเพราะกฎหมาย ไม่มีตำรวจเสียดีกว่า ถ้ารีดไถเป็นมือปืน อำนาจของเราต้องเอาคืน ถ้าปืนปกครองตนเอง ไม่ต้องศึกษาเสียดีกว่าถ้าสอนคนให้เป็นควาย ล้างสมองคนเมามาย มอบใจกายให้นายทุน...ไม่มีชีวิตเสียดีกว่า ถ้าไม่มีประชาธิปไตย ”จะมีชีวิตไปทำไม หากไร้ซึ่งอิสระเสรี”

ในการก่อตั้งพรรคศิลปิน วสันต์ มุ่งให้เกิดการปฏิรูปการเมือง เขาบอกว่าเราเหมือนอยู่ในโลกระบอบปีศาจประชาธิปไตยจอมปลอมที่ผู้แทนราษฎรที่ถืออำนาจอยู่หลังฉากไม่ได้ทำให้รัฐบาลเป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน แต่เป็นรัฐบาลของนายทุน โดยนายทุนและเพื่อนายทุุน พรรคคุณวสันต์ถึงแม้ไม่ได้จดทะเบียนพรรคการเมือง แต่ใบปลิว ป้ายประชาสัมพันธ์ก็ถูกติดอยู่ตามท้องถนน ศิลปินคนอื่นๆ ก็ทำงานเกี่ยวกับการเมือง เช่น สุธี คุณาวิชยานนท์ ในนิทรรศการณ์กลุ่มชื่อประวัติศาสตร์และความทรงจำเมื่อปี 2544 ร่วมกับมานิต ศรีวานิชภูมิ และ หญิง กาญจนวนิช ตั้งห้องเรียนประวัติศาสตร์โดยสลักภาพนูนต่ำไว้กับโต๊ะเรียน 14 ตัว ทุกโต๊ะจะมีเรื่องราวต่างกันไป พูดถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองในแต่ละช่วง ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของเสรีไทย เหตุการณ์ 6 ต.ค. 14 ต.ค. ทุกคนก็สามารถเอากระดาษมาทาบแล้วใช้สีทาถูบนกระดาษ แล้วก็จะได้ภาพนูนต่ำกลับบ้านเป็นที่ระลึก นอกจากห้องเรียนของสุธีแล้วยังมีวิดีโอชุดเดียวกัน เป็นห้องเรียนที่มีเรื่องราวบนกระดานดำเรื่องการเมืองสมัยใหม่ แต่บางสิ่งถูกลบไป ตอกย้ำความทรงจำทางการเมืองบางอย่างที่สูญหายและทำให้พร่าเลือนไปในสังคมไทย

นอกจากนี้ก็มีงานของมานิต ศรีวานิชภูมิ ปีศาจสีชมพู เอาภาพฉากการเมืองที่สำคัญเช่นเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 ไปตัดต่อภาพคนใส่เสื้อชมพูหรือ Pink man ปรากฏตัวในฉากการเมืองที่สำคัญและแสดงสีหน้าไม่สนใจไยดี  ในงานชิ้นเดียวกันก็มี หญิง กาญจนวนิช วาดภาพบุคคลสำคัญของไทยตั้งแต่ ร.4 ปรีดีพนมยงค์ และภรรยาของผู้ต้องหาคดีการสวรรคตของ ร.8 ทุกคนต่างมีน้ำตาไหลพราก แสดงความเสียใจ ศิลปินไทยจึงไม่ได้ปลอดไปจากการเมือง จะพบว่าศิลปินไทยก็ไม่ได้ปลอดจากการเมืองอย่างที่ได้ยกตัวอย่าง กรณีวสันต์ก็เป็นศิลปินคนหนึ่งที่มีบทบาทในทางการเมืองและการชุมนุมมาโดยตลอด

อีกกลุ่มหนึ่งผมเรียกว่า่เป็นแนวทางศิลปะอีกแบบมากกว่า สังคมไทยมีศิลปะสมัยใหม่ด้วยความพยายามของคอร์ราโด เฟโรชี ชาวอิตาลี หรือที่รู้จักกันในชื่อศิลป์ พีระศรี ผู้มาเป็นช่างประติมากรให้รัฐบาลไทยสมัย ร.6 ผู้มีส่วนสำคัญในการถ่ายทอดแนวคิด ทักษะการสร้างศิลปะตามแนวศิลปะสมัยใหม่ เมื่อโลกเคลื่อน ศิลปะก็เคลื่อน ศิลปะสมัยใหม่คือการมีเอกลักษณ์ของตัวเองและสะท้อนปัจจัยเบื้องลึก ความรู้สึกนึกคิดของตัวเองที่มีต่อสังคมภายนอก ทำให้ ศิลปินมีความเป็นปัจเจกชน มีความเป็นเอกชนสูง ทำให้มนุษย์มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถสะท้อนประเด็นได้อย่างอิสระอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่เมื่อพ้นยุคศิลปะสมัยใหม่มาก็เป็นศิลปะร่วมสมัยที่มาจากการที่มนุษย์ตั้งคำถามกับความเป็นสมัยใหม่ ที่หลายคนเรียกว่าโพสท์โมเดิร์น มันเคลื่อนตัวมาจากศิลปะสมัยใหม่ที่แต่เดิมศิลปินตั้งคำถามกับสังคมผ่านมุมมองของตนเอง แต่ศิลปะร่วมสมัยกระจายไปตามพื้นทีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ภาพพิมพ์ หรือมีทีมงานผลิตผลงานแทนตัวศิลปินเองก็ได้ สิ่งที่สำคัญในศิลปะร่วมสมัยกลับกลายเป็นความคิดหรือ Conceptual Art และเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีขึ้นมาใหม่ทำให้ขีดความสามารถในการทำศิลปะเป็นไปอย่างไม่มีขอบเขต

ในช่วงหนึ่งก็มีคำถามเรื่องวัตถุประสงค์ของการมีหอศิลป์ว่าเป็นที่จัดปาร์ตี้ให้ผู้อุปถััมภ์และสมาชิกด้วยเงินภาษี ก็มีฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช ศิลปินที่ลงมือทำผัดไทยในพื้นที่หอศิลป์ให้คนกิน ทำให้งานของฤกษ์ฤทธิ์สัมผัสได้ กินได้ ลดระยะห่างระหว่างงานศิลปะกับผู้ชมผ่านผัสสะอื่นๆ นอกจากตา การข้ามพ้นสุนทรียศาสตร์ทำให้ฤกษ์ฤทธิ์และเพื่อนๆ มีอีกหลายคนเช่น เกเบรียล รอสโซ กลุ่มซูเปอร์เฟลกซ์ และกลุ่มอื่นๆ ถูกนักทฤษฎีศิลปะมองว่าเป็น Relational Aesthetic หรือสุนทรียศาสตร์เชิงสัมพันธภาพที่ไม่ได้สร้างระยะห่างระหว่างผู้ชมกับศิลปะ แต่สามารถสัมผัสเชื่อมโยงกันได้ แนวทางแบบนี้ทำให้เกิดกระแสของการทำศิลปะประเภท Participatory Art ให้ผู้ชมร่วมเขียน ร่วมโหวต ร่วมสร้างผลงานจากแต่เดิมที่ผู้ชมดูได้อย่างเดียว ศิลปะแนวนี้ถูกยกย่องเชิดชูในฐานะที่มันปลดปล่อยผู้ชมจากกฎเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติของหอศิลป์ ทำให้ศิลปะเคลื่อนตัวไปสู่ความหมายใหม่เข้าถึงประชาชน เข้าถึงคนดู ถ้าพูดอย่างนี้ก็จะคิดถึงเรื่องในสังคมไทยที่มีเรื่องงานศิลปะเพื่อมวลชน ศิลปะเพื่อชีวิต หรือศิลปะเพื่อศิลปะ เรื่องนี้ถกเถียงกันเมื่อจิตร ภูมิศักดิ์ เริ่มสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยศิลปากรแล้วเอาแนวคิดของลีโอ ตอลสตอย เอาความคิดศิลปะแบบสังคมนิยมมาเผยแพร่ ในขณะที่กลุ่มที่มองศิลปะเป็นศิลปะก็จะบอกว่างานศิลปะมีความบริสุทธิ์ อลังการ  

แนวคิดสองชุดดังกล่าวก็ปะทะกันในสังคมไทยจนกระทั่งมีเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 เป็นการปลดปล่อยงานศิลปะจากสถานศึกษา จากเดิมต้องเรียนศิลปะ แต่ตอนนั้นเริ่มมีศิลปินใหม่ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ได้รับการยอมรับแม้ไม่มีความรู้อย่างเป็นทางการอย่างประเทือง เฮงเจริญและ จ่าง แซ่ตั้ง แต่พอเกิดเหตุการณ์ 6 ต.ค. ศิลปินที่ทำเรื่องการเมืองก็กระจัดกระจายหายไปจากเวที ที่ทำอยู่ก็ทำเงียบๆ ไม่ก็ทำแล้วก็ทำลายไป บทบาทศิลปินกับการเมืองหลัง 6 ต.ค. ก็ค่อยๆ ลดน้อยลง แต่พอมีแนวคิดศิลปะร่วมสมัยจำพวกศิลปะเชิงสัมพันธภาพที่ตั้งคำถามกับสังคม ทำให้บทบาทของศิลปินก็กลับมา

ช่วงถาม - ตอบ: ศิลปะกับพลังแฝงตามบริบท พลังแห่งการตีความ มาตรวัดลักษณะสังคมและมุมมองต่อหมุดคณะราษฎร

ถาม:ในแง่ศิลปะ ในช่วง กปปส. งานที่ฮิตส่วนมากจะเป็น hard copy งานเขียน งานวาดที่เก็บไ้ด้ แต่หลัง รัฐประหาร เป็นงาน performance art มันจะมาเร็วไปเร็วหรือเปล่า ไม่เกิดอิมแพคเท่างานแบบ Hard copy

บัณฑิต:ขึ้นอยู่กับบรรยากาศของสังคมด้วย อย่างเช่นภาพชูนิ้วกลางที่จตุรัสเทียนอันเหมินของ อ้ายเหว่ยเหว่ย มันแรงมาก และคนที่เข้าใจภาพนี้ได้ก็คงเข้าใจว่าเขาอยู่ในระบอบการเมืองแบบไหน เขาสู้กับใคร ถ้าศิลปะมันถูกอธิบายอย่างเหมาะสมในช่วงเวลาและถ้อยคำที่เหมาะสมมันจะมีพลังในตัวของมันเอง เพลงสู้ไม่ถอยในการชุมนุม กปปส กับม็อบ 14 ต.ค. ก็ให้ความรู้สึกต่างกัน

ถาม:เวลาที่งานศิลปะถูกเผยแพร่สู่สาธารณะแล้วคนเข้าไปเสพ ในฐานะของศิลปิน เขาจัดการการตีความของคนเสพอย่างไร ควบคุมเนื้อหาที่เขาจะสื่อหรือไม่ และเวลางานศิลปะออกไปก็จะมีผู้ชมที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย มันจะนำไปสู่การต่อต้านมากขึ้นหรือไม่

บัณฑิต:ผมคิดว่าการตีความเป็นเรื่องยากที่จะกำกับ แต่ศิลปินที่ฉลาดจะพยายามกำกับพื้นที่การตีความให้ผู้ชมได้รับสารที่ตัวเองอยากจะสื่อผ่านเทคนิคการนำเสนอ ผ่านเรื่องเล่า ที่เหลือก็เป็นสิทธิ์ของประชาชนที่จะตีความ แต่ท้ายที่สุดการตีความก็เป็นของผู้ชม ทั้งนี้ผู้ชมก็ต้องมีความรู้พอๆ กับศิลปิน เช่นเดียวกันกับภาพชูนิ้วกลางของอ้ายเหว่ยเหว่ย

ถาม: การเข้าถึงศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงการขัดขืนมีข้อจำกัดอะไรหรือเปล่าสำหรับคนที่ไม่ใช่คนชั้นกลาง ไม่มีความเข้าใจเรื่องศิลปะและเข้าไม่ถึงโซเชียลมีเดีย

บัณฑิต:ขอเสนอไอเดียของ เรย์มอนด์ วิลเลียมที่บอกว่า ถ้าอยากรู้ว่าสังคมเปลี่ยนก็ต้องไปดูพื้นที่ cutting edge ของความรู้ก็คืองานเขียน ศิลปะ วรรณกรรม ดนตรี วรรณคดี ละคร เมื่อดูตอนแรกอาจจะไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อเวลาผ่านไปสังคมจะตกตะกอนแล้วเข้าใจ และสำหรับผู้ชมที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงภายในก็คงเป็นขีดจำกัดซึ่งคนทำศิลปะ ทำงานสายสื่อต้องเข้าใจว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าถึง เพียงแต่เทคโนโลยีปัจจุบันมันทำให้คนเข้าถึงได้มากกว่าเดิมเช่นเฟซบุ๊ก เฟซบุ๊กไลฟ์ คนสมัย 14 ต.ค. ก็ไม่มี มันเปลี่ยนการมุมมองและลดช่องว่างของคนกับกคน เพียงแต่งานบางชิ้นต้องใช้เวลาถึงจะคิดได้ หรือบางทีก็เกิดฮีโร่โดยบังเอิญที่ไปคิดต่ออีกที แต่มันก็คืออำนาจของศิลปะที่มีพลังจากการตีความ

ถาม:หมุดคณะราษฎรเป็นหมุดสมัยใหม่หรือศิลปะร่วมสมัย

บัณฑิต: ให้ความเห็นว่าหมุดคณะราษฎรมีเป้าหมายคือเป็นหมุดหมายย้ำเตือนเหตุการณ์บางอย่าง ในแง่ศิลปะไม่คิดว่าจะมีความเป็นศิลปะอะไรแต่มันคือสารที่ต่ำต้อยและตรงไปตรงมาที่สุด

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เกาหลีใต้เปิดข้อเท็จจริงปราบผู้ชุมนุม 'กวางจู'มีการใช้เฮลิคอปเตอร์ไล่ยิงคน

0
0

คณะกรรมการของรัฐบาลเกาหลีใต้เปิดเผยเมื่อวันที่ 7 ก.พ. ที่ผ่านมาว่า ในเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยกวางจูเมื่อปี 2523 มีการใช้เฮลิคอปเตอร์ติดปืนยิงใส่ประชาชนจริง ซึ่งถือว่าเป็นอาชญากรรมที่มีความรุนแรงในระดับสังหารหมู่และนับเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ



 
ในเหตุการณ์เมื่อเดือน พ.ค. ปี 2523 ที่เรียกว่าขบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยกวางจู เป็นเหตุการณ์ที่มีประชาชนออกมาชุมนุมต่อต้านเผด็จการทหารของนายพลชุน ดูฮวาน ล่าสุด มีการเปิดเผยจากรัฐบาลเกาหลีใต้ว่ามีการปราบปรามผู้ชุมนุมโดยการใช้เฮลิคอปเตอร์ 500MD และ UH-1H รวมถึงเครื่องบินเจ็ทที่มีระเบิดเตรียมพร้อมเป็นกำลังเสริม

หลังจากการสืบสวนเป็นเวลานาน 5 เดือนโดยคณะกรรมการเฉพาะกิจที่ตั้งโดยกระทรวงกลาโหมภายใต้รัฐบาลมุนแจอินของเกาหลีใต้ทำให้ได้ข้อสรุปดังกล่าว คณะกรรมการนี้มีทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ อัยการ ข้าราชการราว 30 ราย และกรรมการฝ่ายพลเรือน 9 ราย พวกเขาสืบสวนเก็บข้อมูลโดยการทบทวนเอกสารราว 620,000 หน้าและสัมภาษณ์คนมากกว่า 120 คน

แม้ว่าจะยังไม่มี "หลักฐานระดับชี้ขาด"ว่ามีคำสั่งโดยตรงมาจากผู้นำทหารในการใช้เฮลิคอปเตอร์สั่งยิงผู้ชุมนุม แต่ก็มีคำให้การจากผู้เห็นเหตุการณ์จำนวนมากชี้ให้เห็นว่ามีการสังหารผู้คนด้วยอาวุธปืนเฮลิคอปเตอร์จริงในวันที่ 21 พ.ค. - 27 พ.ค. 2523 ที่พื้นที่ใกล้กับที่ว่าการจังหวัดช็อลลาใต้ ซึ่งเป็นกองบัญชาการของผู้ชุมนุมในท้องถิ่น

โดยมีหลักฐานก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่ามีรอยกระสุนที่ชั้น 10 ของอาคารที่ว่าการจังหวัด โดยมีการตั้งสมมติฐานว่าน่าจะมาจากอาวุธปืนกล M60 ที่ติดอยู่กับเฮลิคอปเตอร์ UH-1H หรือไม่ก็เป็นกระสุนของปืนยาว M16

มีสมมติฐานความเป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งคือการใช้กระสุนปืนวัลแคนยิงจากเฮลิคอปเตอร์โจมตีคอบร้า จากการที่มีอดีตนักบิน 4 นาย ให้การไว้ว่าพวกเขาได้รับคำสั่งให้วางกำลังในกวางจูเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2523 ด้วยเฮลิคอปเตอร์ AH-1J Cobra พร้อมกระสุนวัลแคน 500 นัด

คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงประกาศว่ากองทัพภายใต้กฎอัยการศึกยิง "เตือน"ใส่ประชาชนทั่วไปในวันที่ 21 พ.ค. จากเฮลิคอปเตอร์ พวกเขากระทั่งยิงใส่พลเมืองที่ไม่มีอาวุธโดยตรง การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการกระทำที่บ้าบิ่น ไร้มนุษยธรรม เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความป่าเถื่อน โหดร้าย และเป็นอาชญากรของปฏิบัติการปราบปรามการลุกฮือของประชาชน

นอกจากนี้คณะกรรมการยังพูดถึงกรณีการยิงจากเฮลิคอปเตอร์ในวันที่ 27 พ.ค. ว่าเป็นการโจมตีประชาชนโดยมีการไตร่ตรองไว้ล่วงหน้าและวางแผนไว้ซับซ้อน โดยเป็นการโจมตีใส่ประชาชนที่อาวุธคาลวินไรเฟิลและอาวุธทั่วไปอื่นๆ ซึ่งทางคณะกรรมการระบุว่าเป็น "การสังหารหมู่ประชาชนจำนวนมาก"

ปฏิบัติการทางทหารในครั้งนั้นยังมีการเตรียมพร้อมเครื่องบินรบ F-5 และ A-37 ที่บรรทุกระเบิด MK-82 เอาไว้เตรียมพร้อมในอีกสองเมืองด้วย อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าเครื่องบินสองลำดังกล่าวเตรียมเอาไว้ทิ้งระเบิดใส่เมืองกวางจู

จากการที่ข้อมูลเอกสารและหลักฐานอื่นๆ ยังมีจำกัด ทำให้คณะกรรมการเรียกร้องให้มีการออกกฎหมายพิเศษสำหรับการสืบหาความจริงในประวัติศาสตร์โศกนาฏกรรมนี้ อีกทั้งยังเรียกร้องให้รัฐเกาหลีใต้และกองทัพขอโทษประชาชนเนื่องจากปฏิบัติการในครั้งนั้นไร้มนุษยธรรมและเป็นอาชญากรรมที่ยอมรับไม่ได้

มีการประเมินว่าประชาชนในกวางจูราว 200,000 คนจากประชากรของเมือง 750,000 คน เข้าร่วมการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลในครั้งนั้น โดยที่มีการวางกำลังทหารมากกว่า 20,000 นาย ออกมาปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตย โดยขบวนการนี้เริ่มแรกมาจากกลุ่มนักศึกษา หลังจากกลุ่มนักศึกษาถูกกองทัพทุบตีและจับกุมก็ทำให้พลเมืองธรรมดาทั่วไปจำนวนมากออกมาร่วมกับการชุมนุม พอมีเหตุการณ์ที่ทหารยิงใส่ประชาชนมือเปล่า ทำให้มีบางส่วนเริ่มติดอาวุธตัวเองเป็นกองกำลังประชาชนเพื่อปกป้องคุ้มครองประชาชนด้วยกันเอง

เหตุการณ์ในกวางจูมีผู้เสียชีวิตราว 200 ราย บาดเจ็บราว 1,000 ราย ตามการประเมินของทางการ แต่ก็มีบางส่วนประเมินว่าผู้เสียชีวิตน่าจะราว 1,000 - 2,000 ราย

 

 

เรียบเรียงจาก

Military's helicopter shooting during 1980 Gwangju Democratization Movement confirmed, Korea Herald, 07-02-2018

http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20180207000309

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลยกฟ้อง 'สนธิ-พวก'ปราศรัยหมิ่น 'ทักษิณ'ปี 51 ชี้ปกป้องสถาบัน

คุก 2 ปี 6 แกนนำพันธมิตร ‘บุกทำเนียบ’ ปี 51 ทนายจำเลยยันสู้คดีต่อชั้นอุทธรณ์ ศาลให้ประกัน 2 แสนบาท

0
0

"แม้จำเลยจะมีเจตนาปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ แต่ก็มีความผิดตามฟ้อง"ศาลสั่งจำคุก 2 ปี สนธิ, จำลอง, พิภพ, สมเกียรติ, สมศักดิ์ และสุริยะใส คดีบุกทำเนียบรัฐบาลปี 2551 ทนายจำเลยยันสู้คดีต่อ ศาลให้ประกัน 2 แสนบาท ไร้เงื่อนไข

ฎีกายืนสนธิปราศรัยปี 49 หมิ่นตระกูลดามาพงศ์-จำคุก 6 เดือน รอลงอาญา

0
0

ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษา คดีที่ พล.ร.ท.เกียรติศักดิ์ ดามาพงศ์ฟ้องว่าสนธิ ลิ้มทองกุลปราศรัยหมิ่นประมาทตระกูลดามาพงศ์เมื่อปี 49 - ศาลฎีกาพิพากษาว่าจำเลยทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตระกูลชินวัตร-ดามาพงศ์-วงศ์สวัสดิ์โกง ไม่ใช่การใส่ความทักษิณ ชินวัตรตามที่อ้าง ศาลฎีกาจึงพิพากษายืนจำคุก 6 เดือน รอลงอาญา พร้อมปรับ 5 หมื่น และให้ยกฟ้องผู้ทำเว็บเมเนเจอร์


ฎีกา2คดีหมิ่นทักษิณ : ปราโมทย์รอลงอาญา 2 ปี - สนธิรอดชี้ติชมด้วยความเป็นธรรม

0
0

ฎีกาหมิ่นทักษิณ 2 คดี ปมปฏิญญาฟินแลนด์ พิพากษา คุก 1 ปี ปรับ 1 แสน ปราโมทย์ นาครทรรพ โดยโทษจำคุก ให้รอลงอาญา 2 ปี ปมหมกมุ่นไสยศาสตร์ สนธิ รอดชี้ติชมด้วยความเป็นธรรม

ศาลฎีกาพิพากษาคดี ‘สนธิ’ หมิ่นหม่อมอุ๋ย จำคุก 1 ปี รอการลงโทษ

0
0

2 ธ.ค.2558 ที่ศาลอาญารัชดา มีนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับพวกรวม 4 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา จากกรณีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2550 นายสนธิได้กล่าวหา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ในทำนองว่าล้างมลทินให้กลุ่มอำนาจเก่า โดยปล่อยให้มีการออกสลากบนดิน 2 ตัวขัดต่อกฎหมาย และปกป้องผู้กระทำผิดในกรณีที่ปล่อยให้มีการโอนหุ้น บมจ.ชินคอร์ป โดยไม่เสียภาษีผ่านทางรายการเมืองไทยรายสัปดาห์

อุทธรณ์ยกฟ้องสนธิปราศรัยพาดพิงทักษิณปี 51-ถือว่าติชมด้วยความเป็นธรรม

0
0

ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดีหมิ่นประมาท ที่สนธิ ลิ้มทองกุล ปราศรัยปี 51 ว่าทักษิณ ชินวัตร ซื้อรากหญ้า ยึดตำรวจ จ่ายเงินทหารบางคนเพื่อทำให้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอ ศาลพิเคราะห์ว่าแม้จะเป็นข้อความหมิ่นประมาท แต่บุคคลใกล้ชิดและบริวารโจทก์อย่าง โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เคยถูกดำเนินคดี ม.112 จึงเห็นว่าสนธิ ติชมด้วยความเป็นธรรมในเรื่องบ้านเมือง-กิจการสาธารณะที่บุคคลทั่วไปทำได้จึงให้ยกฟ้อง

ฎีกาแล้ว 'สนธิ'ไม่ผิดหมิ่นประมาททักษิณปมปราศรัยที่สหรัฐ กล่าวหาจาบจ้วงสถาบัน

0
0

25 ส.ค. 2559  เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ห้องพิจารณา 901 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีหมายเลขดำ อ.3323/2550 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) มอบอำนาจให้ สมบูรณ์ คุปติมนัส โดย สรรพวิชช์ คงคาน้อย ผู้รับมอบอำนาจช่วง เป็นโจทก์ฟ้อง สนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) สโรชา พรอุดมศักดิ์ อดีตผู้ดำเนินรายการทางสถานีโทรทัศน์ ASTV และบริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-3 ตามลำดับในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
       

ฎีกาพิพากษายืนจำคุก 'สนธิ'ผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ 20 ปี พาตัวเข้าเรือนจำทันที

Viewing all 58 articles
Browse latest View live